วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของฟักทอง


สรรพคุณทางยาของฟักทอง
- เมล็ดสามารถขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ และบำรุงร่างกายได้ดี- ราก บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถ่อนพิษของฝิ่นได้- น้ำมันจากเมล็ดบำรุงประสาทได้ดี- เยื่อกลางผลสามารถนำมาพอกแก้อาการฟกช้ำ ปวด อักเสบ
ประโยชน์ของฟักทองทางโภชนาการ
- เนื้อฟักทอง มีวิตามินเอสูงมาก มีฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี แป้ง สารสีเหลืองและโปรตีน- ใบอ่อน มีวิตามินเอสูงเท่ากับเนื้อฟักทอง มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในเนื้อ- ดอก มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีวิตามินซีเล็กน้อย- เมล็ด มีน้ำมัน แป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน
เกล็ดเล็กเกล็ดน้อยประโยชน์ของเมล็ดฟักทอง ในเมล็ดฟักทองมีสารชื่อ คิวเคอร์บิติน (cucurbitine) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวตืดได้ดี วิธีใช้ให้เตรียมเมล็ดฟักทองประมาณ 60 กรัม ทุบให้แตกละเอียดนำมาผสมกับน้ำตาล นม และน้ำเติมลงไปจนได้ประมาณ 500 มิลลิลิตร แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ห่างกันทุก 2 ชั่วโมงจะฆ่าพยาธิตัวตืดได้ หลังจากนั้นให้ยาแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ควรรับประทานยาระบายน้ำมันละหุ่ง 2 ช้อนโต๊ะช่วยในการขับถ่าย

ประโยชน์ของแตงกวา


ประโยชน์ของแตงกวาแตงกวามีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 96 จึงมีคุณสมบัติแก้กระหาย และเพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยการกำจัดของเสียตกค้างในร่างกาย นอกจากนี้แตงกวามีสารอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ วิตามินซี กรดคาเฟอิก กรดทั้ง 2 นี้ป้องกันการสะสมน้ำเกินจำเป็นในร่างกาย เปลือกแตงกวามีกากใยอาหาร และแร่ธาตุจำเป็น เช่น ซิลิก้า โพแทสเซียม โมลิบดีนั่ม แมงกานีส และแมกนีเซียม ซิลิก้าเป็นแร่ธาตุที่เสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น และกระดูก ปริมาณเส้นใย ธาตุโพแทสเซียมและแมงกานีสในเปลือกแตงกวาช่วยควบคุมความดันเลือดและความสมดุลของสารอาหารในร่างกาย ธาตุแมกนีเซียมช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และระบบการหมุนเวียนเลือด เส้นใยอาหารควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและช่วยระบบขับถ่ายโดยมีพลังงานต่ำเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แตงกวาเป็นผักที่เหมาะกับการกินยามอากาศร้อนเพราะลดความร้อนและช่วยให้ร่างกายสดชื่น มีสารฟีนอลทำหน้าที่ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น นอกจากนี้ น้ำแตงกวายังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ลดอาการนอนไม่หลับ ลดกรดกระเพาะอาหาร แก้กระหายน้ำ และลดอาการโรคเกาต์ โรคไขข้อรูมาติสม์ และอาการบวมน้ำอีกด้วยแตงกวากับสุขภาพและความงามป้องกันสิวและสิวหัวดำ ใช้เนื้อแตงกวาขูดฝอยพอกบริเวณหน้าและคอเป็นเวลา 15-20 นาที บำรุงผิว ถ้าใช้บ่อยจะป้องกันผิวหน้าแห้ง ป้องกันการเกิดสิวและสิวหัวดำ ผิวหน้าสดใสใช้น้ำมะนาวเล็กน้อยและน้ำลอยกลีบกุหลาบ (ที่ปลูกเองแบบปลอดสาร ใช้กลีบกุหลาบมากหน่อย น้ำไม่ต้องมาก วัตถุประสงค์คือให้น้ำมันหอมจากกลีบกุหลาบออกมาอยู่ในน้ำ) ผสมกับน้ำคั้นผลแตงกวา ทาบนผิวหน้าเพื่อทำให้ใบหน้าสดใส (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีผิวมัน)ผิวหน้าผุดผ่องใช้น้ำคั้นผลแตงกวาและนมสดปริมาณเท่าๆกัน เติมน้ำลอยกลีบกุหลาบ 2-3 หยด ทาหน้านาน 15-20 นาที ทำให้ผิวหน้านุ่มและขาวขึ้นลบถุงดำใต้ตาใช้น้ำคั้นผลแตงกวา 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำคั้นมันฝรั่ง 1 ช้อนโต๊ะ ทารอบขอบตา พักราว 15 นาทีจึงล้างออกบำรุงผิวผสมน้ำคั้นแตงกวา น้ำมะนาว น้ำส้ม น้ำแช่กลีบกุหลาบ กลีเซอรีน และน้ำผึ้งอย่างละเท่าๆกัน ใช้ทาผิวให้ตึงกระชับเพิ่มความอ่อนเยาว์ลดรอยหมองคล้ำใต้รักแร้ผสมน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำคั้นผลแตงกวา 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และผงขมิ้นครึ่งช้อนชา หลังจากอาบน้ำเช็ดตัวให้ใช้สำลีชุบน้ำมันมะพร้าวเช็ดบริเวณใต้รักแร้เป็นวงกลม หลังจากนั้นผสมน้ำแตงกวา น้ำมะนาว และผงขมิ้นให้เข้ากัน ทาใต้รักแร้ทิ้งไว้ 20 นาที จากนั้นล้างออกและเช็ดให้แห้ง ทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ช่วยการเจริญของผมให้ดื่มน้ำคั้นผลแตงกวาและน้ำแครอตเป็นประจำ ซิลิก้าและกำมะถันในน้ำแตงกวาบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนังทรีตเม้นท์ลดความเสียหายของผมจากคลอรีนผสมไข่ 1 ฟอง น้ำมันมะกอก 3 ช้อนชา และแตงกวาปอกแล้ว 1 ส่วน 4 ผล ชโลมบนเส้นผม ทิ้งไว้ 10 นาทีจึงล้างออกลบรอยด่างดำการดื่มน้ำคั้นผลแตงกวาจะช่วยลดรอยด่างดำบนผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่องรอยยุงกัด และให้ทาน้ำแตงกวาผสมน้ำลอยกลีบกุหลาบอัตราส่วนเท่าๆ กันด้วยแก้อาการเจ็บคอแก้อาการเจ็บคอโดยกลั้วคอด้วยน้ำคั้นผลแตงกวาวันละอย่างน้อย 3 ครั้งแก้อาการท้องผูกน้ำคั้นผลแตงกวาเป็นยาระบายอย่างอ่อน ลดกรดในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะและช่วยการขับถ่ายมิตรแท้ของดวงตาหั่นแตงกวาเป็นแว่นตามขวาง หลับตาวางแว่นแตงกวาลงบนเปลือกตา นอนในที่เงียบแสงสลัวๆ จะบรรเทาอาการเหนื่อยล้าของดวงตา ที่เกิดจากการใช้งานนานๆ ได้รับฝุ่นควัน แสงจ้า หรือใส่คอนแท็กเลนส์นานเกินไปฟังสรรพคุณมามากแล้ว วันนี้ไปลองดื่มน้ำคั้นผลแตงกวากันดีกว่าแตงกวา 2 ผลหรือแตงร้านหนึ่งผล น้ำ 2 ถ้วย น้ำแข็ง 1 ถ้วย น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะหรือตามชอบ น้ำมะนาวครึ่งผล ใส่เครื่องปั่นจนเป็นเนื้อเดียวกัน อาจใส่ผลไม้อื่นด้วยเช่นแคนทาลูปหรือแตงโม ถ้าใส่ผลไม้อื่นสามารถลดน้ำตาลได้อีกด้วย หรืออาจใช้น้ำเพียง 1 ถ้วย ปั่นแล้วเทใส่แก้วเติมโซดาเย็น 1 ถ้วยก็ได้

ประโยชน์ของผักคะน้า


สรรพคุณ / ประโยชน์ของผักคะน้าคะน้ามีวิตามินหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน 186.92 ไมโครกรัม/100 กรัม [3] ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และยังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูกคะน้ามีสารต้านอนุมูลอิสระ คือวิตามินซีและเบต้า-แคโรทีน ซึ่งร่างการจะเปล่ยนเป็นวิตามินเอที่มีผลต่อการบำรุงสายตา เสริมสร้างสุขภาพผิวพรรณและต้านทานการติดเชื้อ คะน้าให้โฟเลตและธาตุเหล็กสูง ซึ่งสารทั้งงสองชนิดนี้จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
- คุณค่าอาหารคะน้า 100กรัม ให้พลังงาน 31 กิโลเคลอรี ประกอบด้วยน้ำ 92.1 กรัม โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.8 กรัม เส้นใย 1.6 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 2,512 ไมโครกรัม วิตามินเอ 419 iu. วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.08 มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม
- ข้อควรระวังในผักคะนั้นในพบ สารกอยโตรเจน (goitrogen) ซึ่งบริโภคมาก ๆ จะทำให้ท้องอืด

ประโยชน์ของพริก


พริกนับเป็นสมุนไพรที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี นักวิจัยได้ทำการศึกษาพบว่า ในพริกจะมีสารแคปซินสูง ซึ่งสารตัวนี้มีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวด ช่วยในระบบการย่อยอาหารและการไหลเวียนของเลือด ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และล่าสุดนักวิจัยพบว่า สารแคปไซซินนี้มีผลในการเพิ่มการเผาผลาญไขมัน สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ อีกหนึ่งเหตุผลนั่นก็คือ ความเผ็ดของพริกทำให้คนกินอาหารได้น้อยลงเพราะเวลาที่เผ็ดจะต้องดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อขจัดความเผ็ดจึงทำให้อิ่มเร็ว แคลอรีที่ร่างกายได้รับก็น้อยลงจึงทำให้น้ำหนักลดลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าออกกำลังกายร่วมด้วยก็จะให้ผลดีขึ้นไปอีก

ประโยชน์ของมะยม


สรรพคุณของมะยมและวิธีใช้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของมะยมคือ ใบอ่อน ยอด ผล เปลือกลำต้น และราก ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้ ค่ะใบมะยม มีสรรพคุณใช้เป็นยารับประทานดับพิษร้อนถอนพิษไข้ หากนำใบมะยมมาต้มรวมกับใบมะเฟืองและใบหมากผู้หมากเมีย สามารถจะนำน้ำที่ได้มาใช้อาบ แก้ผื่นคัน ลดพิษไข้จากหัด อีสุกอีใส ไข้ดำแดง และฝีดาษ ได้ค่ะยอดมะยม ยอดมะยมจะมีรสฝาด มัน และมีกลิ่นหอม จึงมีสรรพคุณ ใช้แก้ไข้ และดับพิษไข้ผลมะยม มีสรรพคุณช่วยในการกัดเสมหะ จึงใช้แก้ไอและขับเสมหะได้ดี นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณ ช่วยในการบำรุงโลหิต ระบายท้อง และขับปัสสาวะเปลือกลำต้นของมะยม มีสรรพคุณใช้แก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้รากมะยม มีสรรพคุณในการแก้คัน จึงมีคำแนะนำให้นำรากของมะยมมาต้ม ใช้ทาแก้คัน หรือปรุงเป็นยารับประทานแก้ไอ แก้หอบหืดและปวดศรีษะ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้โรคผิวหนังโดยทั่วไปแล้วในมะยมจะมีสองเพศ คือ มะยมตัวผู้ และมะยมตัวเมีย สำหรับมะยมตัวผู้จะมีลักษณะเด่นคือ จะออกดอกเต็มต้น แต่ไม่ติดลูก ส่วนมะยมตัวเมีย จะมีดอกน้อยกว่า ดังนั้นจึงนิยมใช้มะยมตัวผู้ในการทำยามากกว่าตัวเมีย ค่ะ วันนี้เวลาของรายการสาระความรู้ทางการเกษตรหมดลงอีกแล้วนะคะ คุณผู้ฟังจะติดตามรับฟังรายการ “สาระความรู้ทางการเกษตร” ได้ใหม่ ณ สถานีวิทยุ มอ. เอฟเอ็ม แปดสิบแปด เม็กกะเฮิร์กซ์ ทุกวันจันทร์ เวลาประมาณสิบห้านาฬิกายี่สิบนาที หากคุณผู้ฟังต้องการได้รายละเอียดเกี่ยวกับรายการสาระความรู้ทางการเกษตรเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ หรือมีปัญหาทางการเกษตรต้องการคำปรึกษา แนะนำ หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม แก่ทางรายการฯ ก็ตามนะคะ ขอเชิญติดต่อเข้ามาได้ค่ะ ทั้งทางจดหมายและโทรศัพท์ ทางจดหมายจ่าหน้าซองถึง คุณดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ หัวหน้างานฝึกอบรม คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90112 ส่วนทางโทรศัพท์กรุณาติดต่อมาที่หมายเลข 074 – 219-234 begin_of_the_skype_highlighting 074 – 219-234 end_of_the_skype_highlighting และ 074 286-059-60 ได้ทุกวัน ในเวลาราชการนะคะ สำหรับวันนี้ดิฉันขอลาคุณผู้ฟังไปก่อน สวัสดีค่ะ

ประโยชน์ของมะม่วง


สรรพคุณ : ยอดมะม่วง ใบอ่อน มีรสเปรี้ยวอมฝาดเล็กน้อย ผลดิบของมะม่วงรสเปรี้ยวยอดอ่อนและใบอ่อนของมะม่วงยังไม่มีการวิเคราะห์ทางโภชนาการ ผลมะม่วงแก่ดิบจะให้พลังงานต่อร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เบต้า – แคโรทีน วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง ไนอาซิน วิตามินซี เป็นต้นผลดิบและผลสุกสามารถแปรรูปเป็น มะม่วงกวน มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำมะม่วง แยม ฯลฯ และผลดิบสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้ เช่น แกงส้ม (คนปักษ์ใต้นิยมแกงกัน) น้ำพริก (น้ำพริกมะม่วง) ใช้รับประทานคู่กับผักเหนาะ เช่น แตงกวา ผักกูดลวก สะตอ อื่นๆ อีกมากมาย
ความเชื่อ มะม่วงเป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คนโบราณเชื่อว่าหากนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านทางทิศใต้ (ทักษิณ) จะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยมีความร่ำรวยยิ่งขึ้น
สรรพคุณทางยา :ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อนเปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน
พื้นเพและหัวนอนปลายเท้าของมะม่วง
มะม่วง (mango) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า indica Linn. มีถิ่นกำเนิดในบริเวณประเทศอินเดีย เชื่อกันว่ามนุษย์ในบริเวณนั้นนำมะม่วงมาเพาะปลูกนานกว่า 4 พันปีแล้ว มะม่วงจึงเป็นพืชชนิดเก่าแก่ที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของมนุษย์มาก โดยเฉพาะด้านความเชื่อและศาสนา มะม่วงที่นิยมปลูกกันทั่วไปนั้นมีชื่อในภาษาไทยว่า มะม่วง มะม่วงบ้าน หรือมะม่วงสวน ซึ่งแตกต่างจากมะม่วงอีกจำพวกหนึ่งที่เรียกรวมๆ ว่า “มะม่วงป่า” ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น มะม่วงกะล่อน
มะม่วงป่าเป็นพืชพื้นเมืองของไทย เป็นต้นไม้สำคัญกลุ่มหนึ่งของป่าแดงหรือป่าเต็งรัง (ป่าแพะ ป่าโคก) ซึ่งเป็นป่าในที่ดอน ดินตื้น ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แห้งแล้งกว่าป่าชนิดอื่น มีต้นไม้ขึ้นอยู่ไม่มากชนิดเท่าป่าประเภทอื่น ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าแดงจึงเป็นต้นไม้ที่แข็งแรงทนทาน ปรับตัวได้ดี แม้มะม่วงบ้านจะไม่ใช่พืชดั้งเดิมของไทย แต่ก็มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับมะม่วงป่าอันเป็นพืชดั้งเดิม จึงปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี สามารถปลูกได้ในทุกภาค ตั้งแต่เหนือสุดจนใต้สุด
มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่อาจสูงถึง 20 เมตร ทรงพุ่มกว้างรูปโดมหรือครึ่งวงกลม มีใบแน่นทึบสีเขียวเข้ม ใบอ่อนสีน้ำตาลแดงออกไปทางสีม่วง เปลือกสีเทาเข้มขรุขระ และแตกเป็นริ้วเมื่อมีอายุมากขึ้น ปกติมะม่วงออกดอกปีละครั้งช่วงฤดูแล้ง อากาศเย็น แต่มีมะม่วงบางพันธุ์สามารถออกดอกได้ตลอดปี โดยทยอยออกเป็นช่วงๆ เรียกว่า มะม่วงทวาย เช่น มะม่วงสามฤดู มะม่วงน้ำดอกไม้ทะวาย เป็นต้น
คำว่า “ทะวาย” เดิมเรียกว่า “ต่อวาย” หมายถึง เมื่อหมดฤดูออกผล (วาย) แล้ว ก็มีดอกออกผลต่อได้อีก จึงเรียกพันธุ์ไม้เหล่านี้ว่า “ต่อวาย” ซึ่งนอกจากมะม่วงแล้ว ยังมีทุเรียน ขนุน เงาะ ฯลฯ หากออกดอกผลนอกฤดูก็เรียกว่า “ต่อวาย” หรือ “ทะวาย” ทั้งสิ้น
มะม่วงจัดอยู่ในจำพวกไม้ผลที่สำคัญยิ่งของไทยมานานแล้ว ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพืชที่จัดอยู่ในจำพวกต้องเสียอาการใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 7 ชนิด คือ ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะปราง ลางสาด หมากและพลู ในปี พ.ศ. 2431 ชาวสวนผู้ปลูกมะม่วงถูกเก็บค่าอากรใหญ่จากมะม่วง (ที่ออกผลแล้ว) ต้นละเฟื้อง ซึ่งแพงเป็นที่สองรองจากทุเรียนเท่านั้น
คุณประโยชน์ของมะม่วง
ประโยชน์ด้านหลักที่มนุษย์ได้รับจากมะม่วง ก็คือ ด้านอาหาร ผลมะม่วงได้รับการยกย่องในประเทศอินเดีย อันเป็นถิ่นกำเนิดว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้” ผลมะม่วงสามารถนำมากินได้ตั้งแต่ยังอ่อน ที่ชาวไทยเรียกว่ามะม่วง “ขบเผาะ” นั่นเอง เมื่อผลแก่มะม่วงจะมีทั้งรสเปรี้ยวหรือหวาน เนื่องจากมะม่วงมีมากมายหลายพันธุ์ จึงมีความแตกต่างในด้านรูปร่าง ขนาด รสชาติ กลิ่น สี ฯลฯ ของผล ทำให้เลือกนำมาบริโภคได้ตามความต้องการได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่น เช่น ผลมะม่วงดิบรสเปรี้ยวอาจนำมาจิ้มพริกกับเกลือ หรือนำไปใช้ตำน้ำพริกแทนมะนาว นำไปใช้ยำเป็นกับข้าว ผลมะม่วงดิบรสมันหรือหวานใช้กินเช่นเดียวกับผลสุกที่มีรสหวาน นำไปทำขนมต่างๆ หรือแปรรูป เช่น มะม่วงกวน แยมมะม่วง มะม่วงดอง น้ำมะม่วง ฯลฯ นอกจากผลแล้ว ใบอ่อนและช่อดอกของมะม่วงยังนำมากินเป็นผักได้อย่างหนึ่งด้วย
มะม่วงมีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย ในประเทศอินเดียนำใบมะม่วงมาตากแห้งป่นเป็นผง ใช้รักษาโรคท้องร่วงและเบาหวาน ใบมะม่วงสดใช้เคี่ยวรักษาโรคเหงือก เนื้อในเมล็ดมะม่วงใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม น้ำคั้นจากเมล็ดมะม่วงใช้แก้เลือดกำเดาไหล เป็นต้น
ตำราสรรพคุณยาไทย กล่าวถึง สรรพคุณด้านสมุนไพรของมะม่วงเอาไว้หลายประการ เช่น ผลสุกใช้บำรุงกำลัง เป็นยาระบายอ่อนๆ และขับปัสสาวะ เปลือกผลดิบเป็นยาคุมธาตุ ดอก เปลือก เนื้อในเมล็ดใช้แก้ท้องร่วง บิด อาเจียน ใบแห้งเผาเอาควันสูดใช้รักษาโรคเกี่ยวกับหลอดลม ยางจากผลและต้นผสมกับน้ำส้มหรือน้ำมันทาแก้คันแก้โรคผิวหนัง เป็นต้น
ดังที่ได้กล่าวมาในตอนต้นแล้วว่า มะม่วงถูกมนุษย์นำมาเพาะปลูกนานกว่า 4 พันปีแล้ว ทำให้มนุษย์มีความผูกพันกับมะม่วงมาก ชาวฮินดูเชื่อว่ามะม่วงกำเนิดมาจากภูเขาไกลาส อันเป็นที่ประทับของพระอิศวร ยิ่งกว่านั้นบางคัมภีร์ยังกล่าวว่า มะม่วงเป็นภาคหนึ่งของพระพรหม ชาวฮินดูจึงนับถือมะม่วงเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งในพิธีกรรมต่างๆ ที่เป็นมงคลต้องใช้มะม่วงเป็นส่วนประกอบด้วยเสมอ
ไม่เฉพาะชาวฮินดูเท่านั้นที่ถือว่ามะม่วงเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ แต่ชาวพุทธก็เช่นเดียวกัน คงเป็นเพราะพุทธศาสนาก็มีกำเนิดในอินเดียด้วยนั่นเอง ตัวอย่างเรื่องราวของมะม่วงที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าเรื่องหนึ่งก็คือ ชาวพุทธเชื่อว่า พระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ที่ต้นมะม่วง ซึ่งเรียกว่า คัณฑามพพฤกษ์ ณ เมืองสาวัตถี เนื่องจากยมกปาฏิหาริย์เป็นสุดยอดปาฏิหาริย์ซึ่งทำได้เฉพาะพระพุทธองค์เท่านั้น และทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น จึงนับเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในพุทธศาสนา เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ ที่พุทธศาสนามีต่อหมู่เดียรถีย์ (พวกไม่มีศาสนา) และลัทธิอื่นๆในยุคนั้น ชาวพุทธจึงนับถือมะม่วงว่าเป็นต้นไม้พิเศษที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์เช่นเดียวกับต้นไม้บางชนิด เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นสาละ เป็นต้น
ในตำราปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านของคนไทยตั้งแต่โบราณ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย กำหนดให้ปลูกมะม่วงในทิศใต้ของบ้าน มะม่วงกับคนไทยนั้นมีความผูกพันที่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรมานานกว่า 700 ปี และความผูกพันนี้ยังคงเหนียวแน่นไม่เปลี่ยนแปลง ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างรูปแบบความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อมะม่วง ซึ่งแสดงออกในรูปกวีนิพนธ์ของรัตนกวีท่านหนึ่งของไทยเมื่อ 250 ปีก่อนโน้น คือ พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ

การเลี้ยงนกแก้ว



เลี้ยงโดยให้เกาะอยู่บนคอน ขาตั้งและคอนสำหรับนกแก้วนั้น จะทำให้นกรู้สึกอิสระและออกกำลังกายได้สะดวก คอนควร ทำด้วยวัสดุเนื้อแข็ง ถ้าคอนเป็นไม้ปลายทั้งสองควรหุ้มด้วยโลหะ มิฉะนั้นนกจะฉีกแทะเล่น ในกรณีที่นกยังไม่เชื่องพอ ควรใช้กำไลสวมข้อเท้าซึ่งติดกับโซ่สวมไว้ก่อน และควรขลิบปีก เสียข้างหนึ่งเพื่อป้องกันนกบินหนี บริเวณขนที่จะต้องตัดออกคือขนปีกชั้นที่ 1 ทั้ง 5 โดย ขลิบออกประมาณ 1 นิ้ว
เลี้ยงด้วยกรงภายใน ในกรณีที่นกแก้วเป็นนกรูปร่างเล็ก ขนาดของกรงโดยทั่วไปแล้วไม่ควรมีขนาดกว้างสูง ต่ำ กว่า 2x3 ฟุต ขนาดของกรงนั้นจะเหมาะสมกับนกหรือไม่สังเกตุได้จากเมื่อนกเกาะอยู่กลาง กรง หากนกมีโอกาสกางปีกออกได้สะดวก โดยไม่ติดกับกรงหรือคอน ก็จัดได้ว่ามีความพอดี
เลี้ยงด้วยกรงภายนอก การเลี้ยงนกแก้วด้วยกรงภายนอกนั้นเป็นการดียิ่งสำหรับสุขภาพนก เพราะนกได้อยู่กับสิ่งแวด ล้อมคล้ายกับถิ่นเดิม อากาศโปร่งบริสุทธิ์ นกออกกำลังกายได้ตลอดเวลาแต่ต้องคำนึงถึงแสง แดดและฝน อย่าให้โดนมากเกินไป อาหารทั่วไปสำหรับเลี้ยงนกแยกออกเป็นชนิดต่างๆได้ดังนี้
เมล็ดข้าวชนิดต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของเมล็ดทานตะวัน, ข้าวโอ๊ท, ข้าวสาลี, เมล็ดกัญชา, เมล็ดข้าวโพด, ถั่วลิสง, และเมล็ดข้าวอื่นๆที่กระเทาะเปลือกแล้ว
ผลไม้ต่างๆ เช่น แอ๊ปเปิ้ล, กล้วย, องุ่น, ส้ม และผมไม้มุกชนิด
อาหารจำพวกผักสด เช่น หัวมันเทศ, หัวผักกาด, หัวแคร์รอท, ผักโขม, หรือผักจำพวกกระหล่ำปลี, และผักในสวนครัวชนิดอื่นๆ
กระดองปลาหมึก, ทราย

การเลี้ยงกระต่าย


การเลือกซื้อกระต่าย
การเลี้ยงกระต่ายเพื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย ปัจจัยแรกคือ การเลือกซื้อกระต่ายที่จะนำมาเลี้ยง ส่วนใหญ่มักหาซื้อจากตำแหน่งต่างๆซึ่งมีคุณภาพที่แตกต่างกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอๆก็คือผู้ที่เริ่มเลี้ยงกระต่ายยังขาดหลักการและประสบการณืในการเลือกซื้อกระต่าย ทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อกระต่ายที่ดีตามความต้องการได้
ดังนั้นในขั้นแรกจึงควรจะทราบรายละเอียดและทำความเข้าใจในหลักการเลือกซื้อกระต่ายเสียก่อน การเลือกซื้อกระต่ายควรมีหลักการพิจารณา ดังนี้
เลือกพันธุ์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง เช่นเมื่อต้องการเลี้ยงกระต่ายเนื้อก็ควรเลืกพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์หรือแคลิฟอร์เนีย ถ้าต้องการเลี้ยงเพื่อเอาขนควรเลือกพันธุ์แองโกร่า แต่ถ้าต้องการเลี้ยงไว้ดูเล่นควรเป็นกระต่ายที่สวยงาม เช่น พันธุ์เซเบิล ( Sable )
รูปร่างลักษณะของกระต่าย ถ้าเป็นพันธุ์แท้ต้องมีลักษณะตรงตามพันธุ์กระต่ายตัวเมีย ควรมีเต้านมอย่างน้อย 8 เต้า มีอวัยวะเพศภายนอกปกติ กระต่ายตัวผู้ควรมีอัณฑะเต็มทั้ง 2 ข้าง และไม่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์
สุขภาพ กระต่ายจะต้องมีสุขภาพดี ท่าทางตื่นตัว ไม่หงอยเหงา หรือเซื่องซึม ไม่มีโรคของระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และโรคของผิวหนังรวมทั้งไร ขี้เรื้อนต่างๆ
ประวัติ ควรซื้อจากแหล่งที่มีประวัติการเลี้ยงดี กระต่ายเติบโตเร็วและไม่มีโรค
อายุ ควรเป็นกระต่ายที่หย่านมแล้ว มีอายุเกิน 6 สัปดาห์ เพราะกระต่ายมีอายุน้อยกว่านี้จะอ่อนแอและมีความต้านทานโรคต่ำ
หลังจากเลือกซื้อกระต่ายได้แล้ว การขนย้ายกระต่ายเพื่อนำไปเลี้ยงจำเป็นจะต้องทำอย่างระมัดระวังและรวดเร็ว ในขณะที่อากาศยังไม่ร้อนในช่วงเช้าๆ หรือตอนเย็น หรือกลางคืน พยายามอย่าให้ถูกแสงแดดโดยตรง และมีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้กระต่ายเครียดเกินไป
ช่วงที่นำกระต่ายมาเลี้ยงใหม่ๆ ควรดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะกระต่ายมักจะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ควรที่จะผสมวิตามินในน้ำให้กระต่ายกินประมาณ 3-5 วัน ถ้ามีการนำกระต่ายใหม่มาเลี้ยงก่อนที่จะนำมาเลี้ยงรวมกัน ควรทำการกักโรคประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่ากระต่ายที่ซื้อมาใหม่จะไม่นำโรคเข้ามา
พันธุ์กระต่ายกระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทยมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ ดังนี้
พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ ( Newzealand White ) เป็นกระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุด มีขนสีขาวตลอดตัว ตาสีแดงหน้าสั้น มีสะโพกใหญ่ ไหล่กว้าง ส่วนหลังและสีข้างใหญ่มีเนื้อเต็ม ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 4.1-5.0 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.5-5.5 กิโลกรัม
พันธุ์แคลิฟอร์เนีย ( Californian ) มีขนสีขาวตลอดตัวยกเว้นที่บริเวณใบหู จมูก ปลายเท้าและปลายหางจะมีสีดำ ลำตัวท้วมหนา สะโพกกลม ช่วงไหล่และช่วงท้ายใหญ่ ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 3.5-4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.0-5.0 กิโลกรัม
พันธุ์แองโกร่า ( Angora ) เลี้ยงกันมากทางภาคเหนือ มีขนฟูยาว ขนสีขาว สีดำหรือสีอื่นๆ เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 2.4-3.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2.5-3.8 กิโลกรัม
พันธุ์พื้นเมือง มีหลายสีเช่น สีเทา ขาว น้ำตาล ฯลฯ ตาสีดำ หน้าแหลม เลี้ยงลูกเก่ง ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2.0-3.0 กิโลกรัม ปัจจุบันมีการผสมข้ามพันธุ์กับกระต่ายพันธุ์อื่น จนหากระต่ายพื้นเมืองแท้ได้ยาก
โรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง
โรงเรือน ลักษณะของโรงเรือนที่ดีควรตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกกับตะวันตก มีลวดตาข่ายล้อมรอบเพื่อป้องกันแมลงและสัตว์ ซึ่งจะทำอันตรายและนำโรคมาสู่กระต่าย หลังคาของโรงเรือนจะต้องกันแดดและฝนได้ดี พื้นภายในโรงเรือนควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อไม่ให้เปียกชื้นและทำความสะอาดได้ง่าย กรณีที่ผู้เลี้ยงมีพื้นที่ในบ้านมากพอสมควร และกระต่ายที่เลี้ยงมีจำนวนไม่มากนัก ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือน
กรง ขนาดของกรงจะขึ้นอยู่กับจำนวนกระต่าย ถ้าเป็นกรงเดี่ยวควรมีขนาดกว้าง 50 - 60 เซนติเมตร ยาว 60 - 90 เซนติเมตร สูง 45 - 60 เซนติเมตร ถ้าต้องการเลี้ยงกระต่ายหลายตัวอาจทำเป็นกรงตับและซ้อนกัน 2 - 3 ชั้น หรือถ้าจะขังหลายๆตัวรวมกัน กรงที่ใช้จะต้องใหญ่พอที่กระต่ายจะอยู่ด้วยกันได้โดยไม่หนาแน่นเกินไป วัสดุที่ใช้ทำกรงอาจใช้ไม้ระแนง หรือลวดตาข่ายที่มีช่องกว้างประมาณ ? - ? นิ้ว ถ้าเป็นกรงสำหรับแม่กระต่ายเลี้ยงลูก ลวดตาข่ายที่ใช้บุพื้น ควรมีช่องขนาด ? นิ้ว เพื่อป้องกันขาของลูกกระต่ายติดในร่องของลวด ถ้าเลี้ยงกระต่ายไม่กี่ตัว อาจซื้อกรงสำเร็จรูปที่มีขายตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ทั่วไป แต่ต้องไม่ลืมว่ากรงที่ใช้จะต้องมีขนาดใหญ่พอที่กระต่ายจะอยู่ได้อย่างสบาย และต้องแข็งแรง ทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนาน
อุปกรณ์การให้อาหาร ควรใช้ถ้วยดินเผาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว และมีน้ำหนักมากพอที่กระต่ายจะไม่สามารถทำล้มได้ อาจใช้กล่องใส่อาหารที่ทำด้วยอลูมิเนียมเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปครึ่งวงกลมผูกแขวนติดข้างกรง ถ้าเป็นกระต่ายขุนอาจใช้กล่องอาหารอัตโนมัติเพื่อที่กระต่ายจะได้กินอาหารตลอดทั้งวัน
อุปกรณ์การให้น้ำ มีหลายแบบด้วยกัน เช่น ดินเผาใส่น้ำ แต่มีข้อเสียคือ กระต่ายอาจถ่ายมูลหรือปัสสาวะลงในถ้วยทำให้สกปรกได้ หรืออาจใช้ขวดอุดด้วยจุกยาง ซึ่งมีรูสำหรับสอดท่อทองแดง วิธีใช้ให้นำขวดไปเติมน้ำจนเกือบเต็มขวดแล้วคว่ำขวดแขวนที่ข้างกรงกระต่ายให้ปลายท่อทองแดงสูงระดับที่กระต่ายกินน้ำได้สะดวก ควรตัดท่อทองแดงให้โค้งพอเหมาะ น้ำจึงจะไหลได้ดีถ้าเลี้ยงกระต่ายเป็นจำนวนมากๆอาจใช้อุปกรณ์ให้น้ำแบบอัตโนมัติก็ได้ เพื่อประหยัดแรงงานและอุปกรณ์ แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
รังคลอด ควรมีขนาดกว้างพอที่แม่กระต่ายและลูกกระต่ายอยู่ได้อย่างสบาย โดยทั่วไปรังคลอดควรมีขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 40 เซนติเมตร สูง 15 เซนติเมตร พื้นรังคลอดบุด้วยลวดตาข่ายขนาด ? นิ้ว หรือใช้ไม้ตีปิดพื้นให้ทึบ ปูพื้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
การทำความสะอาดโรงเรือนและกรงควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง เพื่อลดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากมูลกระต่าย ส่วนภาชนะใส่น้ำและอาหารควรล้างทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
อาหาร
อาหารมีความสำคัญต่อการเลี้ยงกระต่ายอย่างยิ่งเพราะต้นทุนในการเลี้ยงกระต่ายมากกว่าครึ่งหนึ่งใช้เป็นค่าอาหาร การที่จะเลี้ยงกระต่ายให้เติบโตเร็ว มีสุขภาพดีและให้ผลผลิตสูงจำเป็นจะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่เหมาะสม และมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของกระต่ายอาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่ายแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
อาหารหยาบ ( Roughage ) หมายถึง อาหารที่มีโภชนะย่อยได้ต่ำ มีเยื่อใยสูง ซึ่งหมายถึงอาหารที่กินเข้าไปแล้วเหลือกากขับถ่ายออกมาเป็นของเสียมาก ส่วนใหญ่ได้มาจากลำต้น และใบของพืชตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่ว เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าขน หญ้ากินนี กระถิน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วซีราโต ถั่วไกลซีน ถั่เทาสวิลสไลโล เป็นต้น หรืออาจจะใช้ต้นพืชผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี แครอท ผักกาดหอม หัวผักกาด มันเทศ มันแกว ฯลฯ เลี้ยงกระต่ายก็ได้ อาหารหยาบประเภทใบพืช ผัก หญ้า ควรให้กินเต็มที่ กระต่ายชอบหญ้าสด ผักสด มากกว่าตากแห้ง แต่หญ้าแห้งก็อาจใช้ได้ แต่ควรเป็นหญ้าที่อยู่ในระยะยังอ่อน ตากแห้งสะอาดไม่มีรา ไม่สกปรก ไม่มียาฆ่าแมลง ควรหั่นเป็นท่อนๆได้ยาวพอควร
อาหารข้น ( Concentrate ) แม้ว่ากระต่ายจะสามารถยังชีพและขยายพันธุ์ตามปกติธรรมชาติ โดยอาศัยอาหารประเภทต้นหญ้า ใบพืชได้ก็ตาม แต่หากเราต้องการให้มันเจริญเติบโต ให้ผลผลิตเร็ว ให้เนื้อมาก ให้ขยายพันธุ์มีลูกดก ได้ลูกปีละหลายตัว เราจะต้องเลี้ยงดูให้ดี โดยมีอาหารข้น ( Concentrates ) เพิ่มเสริมให้ด้วย อาหารข้นนี้เป็นอาหารที่มีโภชนะย่อยได้สูง มีเยื่อใยต่ำ ย่อยง่าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
อาหารที่เป็นแหล่งพลังงาน คือ อาหารที่มีแป้ง และน้ำตาล ( คาร์โบไฮเดรต ) หรือไขมันสูง ได้แก่ รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเส้น และไขมันจากพืชหรือสัตว
อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน ได้แก่ นมผง ปลาป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง และใบกระถินป่น สำหรับอาหารข้นควรเสริมให้กินในตอนบ่าย กระต่ายไม่ได้เสริมด้วยอาหารข้นควรมีแร่ธาตุประกอบด้วย เกลือ กระดูกป่น และเปลือกหอยบดอย่างละเท่าๆกัน ผสมให้เข้ากัน ตั้งให้กินตามใจชอบ อาหารป่นที่แห้งอาจผสมน้ำเล็กน้อยพอชื้น เพื่อสะดวกในการกินและจะช่วยมิให้ร่วงหล่นเสียหาย
อาหารสำเร็จรูป ( Complete feed ) เกิดจากการนำอาหารข้นและหยาบมารวมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีสภาพเป็นผงหรืออัดเป็นเม็ด นำมาใช้เลี้ยงกระต่ายได้สะดวก กระต่ายที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในปริมาณที่เพียงพอจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการเลี้ยงทั่วไปนิยมเสริมหญ้าสด เพื่อลดต้นทุนและควรให้หญ้าหลังจากที่กระต่ายกินอาหารสำเร็จรูปในปริมาณมากพอสมควร เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่จะเป็นอย่างเพียงพอ

คุณค่าของสับปะรด



คุณค่าทางโภชนาการ

เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับซ้อนกันถี่มาก รอบต้นกว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีตารอบผล มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล

ประโยชน์ต่อสุขภาพรักษาแผลเป็นหนองได้ โดยนำผลสดๆมาคั้นเอาแต่น้ำ ชโลมแผล เอนไซม์จะช่วยย่อยกัดเนื้อเยื่อ และหนองให้หลุด ยังใช้แก้ท้องผูกได้อีกด้วย โดยนำผลสดมาคั้นเอาน้ำ 1 แก้ว อาจผสมกับน้ำสุก 1 แก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มตอนท้องว่าง หรืออาจจะใช้เหง้าสดๆ ประมาณ 200 กรัม หรือแห้ง 100 กรัม ต้มน้ำ 2 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา นอกจากนี้สับประรดยังสามารถแก้ปัสสาวะไม่ออก และช่วยย่อยอาหารได้ดีอีกด้วย

ประโยชน์ของชมพู่



ลักษณะพันธุ์

พันธุ์ชมพู่ ได้แก่ ชมพู่เพชรสุวรรณ ชมพู่เพชรสายรุ้ง ชมพู่เพชรน้ำผึ้ง ชมพู่ทับทิมจันทร์ ชมพู่ทูลเกล้า ชมพู่พันธุ์น้ำดอกไม้


คุณค่าทางโภชนาการ

ในเนื้อชมพู่ 100 กรัม ประกอบด้วยคุณค่าทางอาหาร ได้แก่ พลังงาน 24 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.5 กรัม แคลเซี่ยม 2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ไวตามมิน 32 มิลลิกรัม



การนำไปใช้ประโยชน์

ชมพู่มีส่วนที่ใช้เป็นยา รสและสรรพคุณยาไทยเอาเนื้อของชมพู่มาทำเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดความสดชื่นหอม โดยการเอาเนื้อชมพู่แห้งมาบดหรือรับประทานสดก็ได้จะเกิดความสดชื่นขึ้นมาทันทีสามารถนำมาบำรุงหัวใจได้มาก เพราะชมพู่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ

กล้วยไม้


กล้วยไม้ได้เข้ามามีบทบาทอยู่ในสังคมของมนุษย์เป็นเวลาช้านานแล้ว ดังจะเห็นได้ว่า ในประวัติศาสตร์ของประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในโลกที่มีศิลปวัฒนธรรมซึ่งน่าสนใจ และแผ่กระจายออกไปทั่วโลก ก็ยังมีหลักฐานปรากฏบทบาทของกล้วยไม้อยู่ด้วย เช่น ภาพเขียนที่ปรากฏตามโบราณวัตถุต่างๆประเทศในยุโรป บางประเทศที่ได้ทำการสำรวจดินแดนในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชียและอเมริกาในสมัยก่อน ก็ได้มีการนำกล้วยไม้นานาชนิดกลับไปเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ รวมทั้ง ได้มีการเริ่มผสมพันธุ์เพื่อประโยชน์ต่างๆด้วย เมื่อความเจริญทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวิทยาการได้ขยายตัวกว้าง-ขวางออกไป ก็ได้ปรากฏว่า ประเทศต่างๆซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลก และมีความเจริญพอสมควร ได้ให้ความสนใจในการเลี้ยงกล้วยไม้กันทั่วๆไป เมื่อได้วิเคราะห์ความนิยมในวงการกล้วยไม้ของประ-เทศต่างๆ อย่างกว้างขวางแล้ว สามารถจะสรุปได้ดังนี้
กล้วยไม้เป็นพืชซึ่งใช้เป็นตัวอย่างเพื่อการศึกษาทางด้านวิชาการเกี่ยวกับธรรมชาติและชีวิตของพันธุ์ไม้ได้อย่างดี เนื่องจากกล้วยไม้เป็นพืชวงศ์ใหญ่มาก ลักษณะทางพันธุศาสตร์จึงมีความแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง และยังมีการกระจายพันธุ์อยู่ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่ผิดแผกแตกต่างกันอีกด้วย ทั่วโลก แม้ว่าจะได้มีการนำกล้วยไม้มาเลี้ยง และศึกษาวิจัยนานพอสมควรแล้วก็ตาม แต่ก็ยังได้มีรายงานว่าได้มีการค้นพบและตั้งชื่อทาง พฤษศาสตร์แก่กล้วยไม้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ ดังนั้น นักวิชาการพฤกษศาสตร์สาขาต่างๆ และพืชศาสตร์จึงได้ให้ความสนใจที่จะนำกล้วยไม้มาเป็นพืชตัวอย่างเพื่อการศึกษาและวิจัยในสาขานั้นๆยิ่งไปกว่านั้น ในสังคมของผู้นิยมเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกก็ประกอบด้วยบุคคลในหลายสาขาอาชีพ ผู้ที่มีความถนัดในสาขาวิชาการใด ที่จะนำมาใช้พัฒนาการเลี้ยงกล้วยไม้ได้ ก็จะให้ความสนใจนำวิชาชีพที่ตนถนัดมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุง การเลี้ยงกล้วยไม้ด้วย สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวกับต้นไม้ บางคนมีรสนิยมในการรวบรวมพันธุ์และศึกษากล้วยไม้ป่านานาชนิด และยังมีการศึกษาค้นคว้าจากตำราต่างๆ อย่างกว้างขวาง กล้วยไม้จึงเป็นพืชที่สามารถดึงดูดความสนใจจาก คนหลายประเภทให้ศึกษาวิทยาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับต้นไม้ดอกไม้เป็นอย่างดี
ความเจริญในสังคมทั่วๆไปที่ได้ผ่านมาแล้วนั้น ได้เน้นหนักไปในด้านวัตถุเป็นอย่างมาก การเพิ่มของจำนวนประชากรในส่วนต่างๆของโลกก็ดี ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ ตลอดจนทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ ทำให้คนเราต้องมีภารกิจการงานหนักมากยิ่งขึ้น ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวันนับเป็นแรงกดดันที่สำคัญทางจิตใจ ประชาชนในประเทศต่างๆที่เจริญพอสมควรแล้ว จึงมีความสนใจทำงานอดิเรกเพื่อเป็นการพักผ่อนจิตใจในยามว่าง การเลี้ยงกล้วยไม้จัดได้ว่า เป็นงานอดิเรกที่ สร้างสรรค์ ทั้งในด้านจริยธรรมและการศึกษาไปในตัว รวมทั้งได้มีโอกาสผ่อนคลายความตึงเครียดทางจิตใจในขณะที่อยู่กับต้นไม้ ทั้งยังศึกษาและติดตามการเจริญเติบโต และได้ชมดอก ที่สวยงาม หรือลักษณะแปลกๆ ซึ่งเป็นผลงานของแต่ละคน
กล้วยไม้เป็นต้นไม้ที่มีขนาดพอเหมาะสม การเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกจึงสามารถกระทำได้ แม้ในบริเวณสวนหลังบ้านซึ่งมีที่ดินเพียงเล็กๆ น้อยๆ หรือแม้แต่ตามซุ้มต้นไม้ ตลอดจนไม้ยืนต้นที่ปลูกในบริเวณบ้าน หากมีสภาพโปร่ง ให้แสงแดดส่องลงได้พอสมควร ก็สามารถใช้เป็นที่ปลูกกล้วยไม้ได้ กล้วยไม้จึงเป็นไม้ดอกไม้ประดับบ้านให้สวยงามได้อย่างดี บ้านนับเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตและครอบครัว บ้านที่มีพันธุ์ไม้สวยงามพอสมควรเป็นสิ่งประดับ ย่อมจะช่วยให้บ้านมีความน่าอยู่ยิ่งขึ้น จิตใจของคนที่อยู่ในบ้านย่อมมีความแจ่มใส บุตรหลานในครอบครัวซึ่งจะเติบโตขึ้นมาในอนาคต จะได้พบเห็นสิ่งที่ดี เสริมสร้างจิตใจในชีวิตประจำวัน และถ้าได้มีการฝึกอบรมให้ บุตรหลานได้มีจิตใจรักและช่วยดูแลทำนุบำรุงสิ่งเหล่านี้เป็นงานประจำแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่บังเกิดผลดีในอนาคต
หลักสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิตคนในสังคมทั่วๆไป ก็คือคนเราจะอยู่แต่ลำพังคนเดียวไม่ได้ จำเป็นต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลต่อบุคคล ครอบครัวต่อครอบครัวและระหว่างประเทศต่างๆ ที่จะต้องอยู่ร่วมกันในโลกนี้ ทุกวันนี้มนุษย์เราจึงพยายามหาจุดแห่งความสนใจร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ และความเข้าใจดีระหว่างกันและกัน อันเป็นหลักการและแนวทางที่จะมุ่งไปสู่ความสงบของมวลมนุษยชาติ วงการกล้วยไม้ในแต่ละประเทศหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีความเจริญทางจริยธรรมพอสมควร ได้มีการพัฒนากล้วยไม้ตามแนวทางดังกล่าวนี้ด้วย ดังจะเห็นได้ว่า มีประเทศต่างๆทั่วโลกเป็นจำนวนมากให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้ และมีสมาคม ผู้เลี้ยงกล้วยไม้ เพื่อเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ และมีการแลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนพันธุ์ไม้ต่างๆระหว่างกัน นอกจากนั้น ยังได้มีการสร้างสรรค์และเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของวงการกล้วยไม้ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นว่า ได้มีการจัดการประชุมกล้วยไม้ระหว่างประเทศในภาคพื้นยุโรปขึ้นทุกๆ ๓ ปี โดยหมุนเวียนไปตามประเทศต่างๆ ที่อยู่ในภูมิภาคนั้น และได้มีการริเริ่มงานชุมนุมกล้วยไม้โลกขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๙๗ ณ เมืองเซนต์หลุยส์ มลรัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา นับแต่ นั้นมา งานชุมนุมกล้วยไม้โลกก็ได้จัดขึ้นทุกๆ ๓ ปี โดยหมุนเวียนไปตามประเทศต่างๆ ตามข้อตกลงในที่ประชุมที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทยนั้น ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมกล้วยไม้โลกครั้งที่ ๙ ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ซึ่งปรากฏว่า ได้มี บุคคลต่างชาติต่างภาษาและต่างสาขาอาชีพจาก ๔๑ ประเทศ มาร่วมประชุมกันประมาณ ๓,๐๐๐ คน บุคคลในวงการกล้วยไม้ จึงมีการติดต่อถึงกันในมุมต่างๆของชีวิตอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านความรักความสนใจธรรมชาติ ความสัมพันธ์ทางจิตใจ และการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ตลอดจนประสบการณ์ที่ได้ ค้นพบใหม่ๆ ด้วย
จากประโยชน์ที่สังคมได้รับจากกล้วยไม้ดังได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด จึงทำให้กล้วยไม้เป็นที่ต้องการในกลุ่มคนโดยทั่วๆไป ดังนั้น จึงเกิดธุรกิจการค้าเกี่ยวกับกล้วยไม้ติดตามมา อันเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีตั้งแต่ที่เป็นผลพลอยได้จากการ เลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกในครอบครัวไปจนถึงการประกอบ อาชีพหลักด้วยการเลี้ยงกล้วยไม้ การค้ากล้วยไม้นั้นก็มีการขายทั้งต้นและดอก การขายต้นจำแนกออกไปได้เป็น ๒ แนวทางคือเพื่อนำไปปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรก นำไปทำพันธุ์เพื่อการขยายออกไป หรือจำหน่ายไปสู่การปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้าก็ได้อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้ากล้วยไม้ก็จะต้องเข้าใจถึงประโยชน์อันแท้จริงที่กล้วยไม้ได้อำนวยให้แก่สังคมดังกล่าวมาแล้วทั้งหมด และต้องร่วมมือกันรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ให้ดีที่สุด เพื่อให้ธุรกิจการค้ากล้วยไม้มีความมั่นคงถาวร หรืออาจกล่าวโดย สรุปได้ว่า ผู้ที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากกล้วยไม้ควรจะได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ผู้สนใจเลี้ยงกล้วยไม้ได้รับประโยชน์ จากกล้วยไม้ในทางที่ถูกต้องด้วย

กินปลามีประโยชน์อย่างไร


ประโยชน์ที่ได้จากการทานปลา
“ปลา” นับว่าเป็นอาหารโปรตีนหลักที่คนทุกเศรษฐานะสามารถซื้อมารับประทานได้ แม้ว่าปลาที่มีในแต่ละท้องถิ่นนั้น จะมีลักษณะบางอย่างต่างกัน แต่ต่างก็มีโปรตีนสูงเช่นกัน ปลาที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปมีทั้งปลาน้ำเค็มและปลาน้ำจืด
หากแบ่งปลาตามปริมาณไขมันที่มีอยู่ได้ 3 ประเภท1. ปลาที่มีไขมันต่ำกว่าร้อยละ 2 เนื้อจะมีสีจาง ได้แก่ ปลาจาระเม็ด ปลาสำลี ปลากะพง ปลาแดง ปลาเก๋า ปลาช่อน ปลาตาเดียว ปลากราย2. ปลาที่มีไขมันร้อยละ 2 – 5 เนื้อจะมีสีขาว ได้แก่ ปลาอินทรี ปลาน้ำดอกไม้ ปลากระบอก ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาหมอไทย3. ปลา ที่มีไขมันอยู่เกินร้อยละ 5 ปลาประเภทนี้เนื้อปลาจะมีสีเข็มกว่าปลาที่มีไขมันน้อยสีจะออกเหลือง ชมพู ค่อนข้างหนา ได้แก่ ปลาสวาย ปลาเทโพ
ส่วนประกอบและคุณสมบัติ
เซลล์กล้ามเนื้อของปลามี ขนาดสั้นกว่าของ วัว หมู และไก่ ส่วนมากมีความยาวไม่เกิน 3 ซ.ม. รอบ ๆ
กล้ามเนื้อมีเยื่อเกี่ยวพันบาง ๆ หุ้มอยู่ เมื่อปลาสุก เนื้อปลาจะแยกออกเป็นชิ้นตามมัดกล้ามเนื้อในกล้ามเนื้อของปลาจะมีกรดอะมิโน อิสระสูงกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น กรดอะมิโนเหล่านี้ให้กลิ่นรสแก่ปลา ปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่เน่าเสียได้ง่ายกว่าเนื้อสัตว์อื่นๆ
การเน่าเสียเกิดจากสาเหตุหลายประการได้แก่ เกิดจากเอนไซม์ในตัวปลาที่อยู่ตามกระเพาะอาหาร ลำไส้ เลือด และกล้ามเนื้อ ถ้าหากตัวปลาได้รับความชอกช้ำกระแทกกระทั้น เกิดท้องแตกเอนไซม์เหล่านี้จะย่อยอวัยวะส่วนอื่นๆ ทำให้เกิดการเน่าได้
การเน่าเสียของปลาอาจเกิดจากแบคทีเรียในตัวปลา ซึ่งปลากินเข้าไปหรือติดมากับเหงือกหรือเมือกตามตัวปลาไปทำปฏิกิริยาทำให้ เกิดกลิ่นเหม็นคาว และเน่าในที่สุดสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้เนื้อปลาเกิดเน่าเสีย เนื่องมาจากปฏกิริยาเคมีระหว่างไขมันในตัวปลากับออกซิเจนในอากาศที่ทำให้ เกิดกลิ่นเหม็นหืน ปฏิกิริยาแบบนี้มักเกิดในปลาที่มีไขมันปริมาณปานกลาง หรือปลาที่มีไขมันปริมาณมาก
ปลาทั้งตัวจะมีปริมาณเนื้อปลาที่ใช้บริโภคได้ประมาณร้อยละ 50 ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนิด อายุปลา ฤดูกาล สำหรับปลาที่จำหน่ายอยู่ในตลาดหลังจากตบแต่งแล้วคือ ไม่มีตัว ครีบ และเกล็ด โดยเฉลี่ยจะมีเนื้ออยู่ร้อยละ 73 เป็นกระดูกร้อยละ 21 และหนังร้อยละ 6 โปรตีนจากปลาย่อยง่ายกว่าโปรตีนจากเนื้อวัว ปลายังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมาก
โปรตีนในเนื้อปลามีอยู่คิดเป็นร้อยละ 16 – 28 ไขมันในตัวปลาประกอบด้วยไขมันอิ่มตัวเป็นส่วนมาก ปลาเป็นแหล่งของแร่ธาตุโดยเฉพาะไอโอดีน ปริมาณเหล็กต่ำกว่าที่พบในเนื้อสัตว์ ปลาเป็นแหล่งวิตามิน วิตามินที่พบจะแตกต่างกันตามชนิดของปลาหรือส่วนต่างๆ ของปลา ส่วนของไขมันและน้ำมันตับปลาจะเป็นแหล่งวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน คือพวก วิตามินเอ ดี อี เค กล้ามเนื้อปลาเป็นแหล่งของวิตามิน

ประโยชน์ของส้มโอ


สรรพคุณ / ประโยชน์ของส้มโอใบ : เป็นยาแก้ปวดข้อ ท้องอืดแน่น แก้ปวดหัว (ตำพอกที่ศีรษะ)ดอก : แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระบังลม ขับเสมหะ ขับลมผล : แก้เมาสุรา ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหารเหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์เบื่ออาหาร ปากไม่รู้รสอาหารเปลือกผล : เป็นยาขับลม ช่วยขับเสมหะ แก้อึดอัด แน่นหน้าอก ไอ จุกแน่น ปวดท้องน้อย ไส้เลื่อน หรือต้มน้ำอาบแก้คัน ใช้ตำพอกฝีเมล็ด : แก้ไส้เลื่อน แก้ปวดท้อง ลำไส้เล็กหดตัวผิดปกติราก : แก้หวัด แก้ไอ แก้ปวด ปวดท้องน้อยและกระเพาะอาหาร ไส้เลื่อน

ประโยชน์ของส้ม


ทราบหรือไม่ว่า การกินส้มให้ประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย วันนี้มีประโยชน์ของส้มมาฝากกัน....จากรายงานการศึกษาของหลายชาติ เรื่องการบริโภคผลไม้จำพวกมะนาว หรือส้ม ให้ประโยชน์แก่สุขภาพ สรุปได้ว่า "กินส้มวันละใบ จะช่วยผลักไสโรคมะเร็งบางชนิดให้พ้นตัวไปได้"นักวิจัยขององค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเครือจักรภพของรัฐบาลออสเตรเลีย ระบุว่า การกินผลไม้พวกมะนาวหรือส้ม จะช่วยป้องกันมะเร็งที่ปาก กล่องเสียง และกระเพาะลงได้ครึ่งหนึ่ง และยิ่งกินผักผลไม้วันละ 5 มื้ออยู่เป็นประจำแล้ว ก็จะยิ่งช่วยให้ป้องกันอัมพาตได้อีกโรคถึง 19 เปอร์เซ็นต์ด้วยผลไม้จำพวกมะนาวหรือส้ม ช่วยป้องกันโรคของร่างกายได้เพราะคุณสมบัติเป็นตัวล้างพิษของมัน พร้อมทั้งบำรุงระบบภูมิ คุ้มโรคให้แข็งแรง ขัดขวางเนื้อร้ายไม่ให้ลุกลาม และรักษาเซลล์เนื้อร้ายให้กลับคืนดีได้อีกด้วยรู้อย่างนี้แล้ว ถ้าอยากมีสุขภาพแข็งแรง ลองหาส้มมากินกันดีกว่า.

ประโยชน์ของกล้วย



กล้วยอุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และ กลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร กล้วยจะช่วยเสริมเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายทันทีทันใด จากงานวิจัยพบว่ากินกล้วยแค่ 2 ผล ก็สามารถเพิ่มพลังงานให้อย่างเพียงพอ กับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ได้นานถึง 90 นาที
ประโยชน์ของกล้วยไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มพลังงานเท่านั้น ยังช่วยเอาชนะ และป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดกับร่างกายได้อีกหลายโรคเลยค่ะ ส่วนจะช่วยป้องกันโรคใดได้บ้างนั้นราไปหาข้อมูลมาให้แล้ว ดังนี้
1. โรคโลหิตจาง ในกล้วยมีธาตุเหล็กสูงจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด และจะช่วยในกรณีที่มีสภาวะขาดกำลัง หรือภาวะโลหิตจาง
2. โรคความดันโลหิตสูง มีธาตุโปรแตสเซียมสูงสุด แต่มีปริมาณเกลือต่ำ ทำให้เป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุดที่จะช่วยความดันโลหิตมาก อย.ของอเมริกา ยินยอมให้อุตสาหกรรมการปลูกกล้วยสามารถ โฆษณาได้ว่า กล้วยเป็นผลไม้พิเศษช่วยลดอันตรายอันเกิดจากเรื่องความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตก
3. กำลังสมอง มีงานวิจัยในกลุ่มนักเรียน 200 คน โรงเรียน Twickenham พบว่ากินกล้วยมื้ออาหารเช้า ตอนพัก และมื้ออาหารกลางวันทุกวัน เพื่อช่วยส่งเสริมกำลังของสมองในพวกเขา ได้รับผลดีจากการสอบตลอดปี ด้วยการจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าปริมาณโปรแตสเซียมที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในกล้วยสามารถให้นักเรียนมีการตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น
4. โรคท้องผูก ปริมาณเส้นใยและกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วยช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกโดยไม่ต้องกินยาถ่ายเลย
5. โรคความซึมเศร้า จากการสำรวจ ในจำนวนผู้ที่มีความทุกข์เกิดจากความซึมเศร้าหลายคนจะมี ความรู้สึกที่ดีขึ้นมากหลังการกินกล้วย เพราะมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า Try Potophan เมื่อสารนี้เข้าไปในร่างกายจะ ถูกเปลี่ยนเป็น Rerotonin เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวผ่อนคลายปรับปรุงอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ คือทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นนั่นเอง
6. อาการเมาค้าง วิธีที่เร็วที่สุดที่จะแก้อาการเมาค้าง คือ การดื่มกล้วยปั่นกับนมและน้ำผึ้ง กล้วยจะทำให้ กระเพาะของเราสงบลง ส่วนน้ำผึ้งจะเป็นตัวช่วยหนุนเสริมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดที่หมดไปในขณะที่นมก็ช่วย ปรับระดับของเหลวในร่างกายของเรา
7. อาการเสียดท้อง กล้วยมีสารลดกรดตามธรรมชาติที่มีผลต่อร่างกายของเรา ถ้าปัญหาเกี่ยวกับอาการเสียด ท้อง ลองกินกล้วยสักผล คุณจะรู้สึกผ่อนคลายจากอาการเสียดท้องได้
8. ความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า การกินกล้วยเป็นอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร จะรักษาระดับน้ำตาลในเส้นเลือดให้คงที่ เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า
9. ยุงกัด ก่อนใช้ครีมทาแก้ยุงกัด ลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด มีหลายคนพบอย่างมหัศจรรย์ว่า เปลือกกล้วยสามารถแก้เม็ดผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้
10. ระบบประสาท วิธีควบคุมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด ด้วยการกินอาหารว่างที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงอย่างทุก 2 ชั่วโมง เพื่อรักษาปริมาณน้ำตาลให้คงที่ตลอดเวลา การกินกล้วยที่มีวิตามินบี 6 ซึ่งประกอบด้วยสารควบคุมระดับกลูโคสที่สามารถมีผลต่ออารมณ์ ช่วยทำให้ระบบประสาทสงบลงได้
11. โรคลำไส้เป็นแผล กล้วยเป็นอาหารที่แพทย์ใช้ควบคุม เพื่อต้านทานการเกิดโรคลำไส้เป็นแผล เพราะเนื้อของกล้วยมีความอ่อนนิ่มพอดี เป็นผลไม้ชนิดเดียวที่ทานได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคลำไส้เรื้อรัง และกล้วยยังมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด ทำให้ลดการระคายเคือง และยังไปเคลือบผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย
12. การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ในวัฒนธรรมของหลายแห่งเห็นว่ากล้วย คือผลไม้ที่สามารถทำให้ อุณหภูมิเย็นลงได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอุณหภูมิของอารมณ์ของคนที่เป็นแม่ที่ชอบคาดหวัง ตัวอย่างในประเทศไทย จะให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์รับประทานกล้วยทุกวันเพื่อให้แน่ใจว่า ทารกที่เกิดมา จะมีอุณหภูมิเย็น
13. ความสับสนของอารมณ์เป็นครั้งคราว กล้วยสามารถช่วยในเรื่องของอารมณ์และความสับสนได้ เพราะในกล้วยมีสารตามธรรมชาติ Try Potophan ทำให้อารมณ์ดี
14. การสูบบุหรี่ กล้วยสามารถช่วยคนที่กำลังพยายามเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากในกล้วยมีปริมาณของวิตามินซี เอ บี6 และบี 12 ที่สูงมาก และยังมีโปรแตสเซียมกับแมกนีเซียม ที่ช่วยทำให้ร่างกายฟื้นคืนตัวได้เร็วอันเป็นผล จากการลดเลิกนิโคตินนั่นเอง
15. ความเครียด โปรแตสเซียมเป็นสารอาหารสำคัญ ที่ช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ การส่งออกซิเจน ไปยังสมอง และปรับระดับน้ำในร่างกาย เวลาเกิดอารมณ์เครียด อัตรา metabolic ในร่างกายของเราจะขึ้นสูง และทำให้ระดับโปรแตสเซียมในร่างกายของเราลดลง แต่โปรแตสเซียมที่มีอยู่สูงมากในกล้วยจะช่วยให้เกิด ความสมดุล
16. เส้นเลือดฝอยแตก จากการวิจัยที่ลงในวารสาร "The New England Journal of Medicine" การกินกล้วยเป็นประจำสามารถลดอันตรายที่เกิดกับเส้นโลหิตแตกได้ถึง 40%
17. โรคหูด การรักษาหูดด้วยวิธีทางเลือกแบบธรรมชาติ โดยการใช้เปลือกของกล้วยวางปิดลงไปบนหูด แล้วใช้แผ่นปิดแผลหรือเทปติดไว้ให้ด้านสีเหลืองของเปลือกกล้วยออกด้านนอก ก็จะสามารถรักษาโรคหูดให้หายได้

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

ดาราจักรหมวนแมลง


การชนกันระหว่างดาราจักรเกิดขึ้นเมื่อดาราจักรสองดาราจักรเคลื่อนตัดผ่านกันและกัน และมีโมเมนตัมสัมพัทธ์มากพอที่มันจะไม่รวมตัวเข้าด้วยกัน โดยทั่วไป ดาวฤกษ์ในดาราจักรที่กำลังชนกันจะเคลื่อนผ่านทะลุไปได้โดยไม่เกิดการชนกับดาวดวงอื่น อย่างไรก็ดี แก๊สและฝุ่นในดาราจักรทั้งสองจะมีอันตรกิริยาต่อกัน สสารระหว่างดาวจะถูกรบกวนและบีบอัด ทำให้เกิดการก่อตัวเป็นดาวฤกษ์ดวงใหม่ในจำนวนมหาศาล การชนกันระหว่างดาราจักรทำให้รูปร่างของดาราจักรใดดาราจักรหนึ่งหรือทั้งสองบิดเบี้ยว และอาจทำให้เกิดโครงสร้างรูปคาน วงแหวน หรือคล้ายหางก็ได้[47][48]
กรณีสุดโต่งของอันตรกิริยาระหว่างดาราจักรคือการรวมตัวเข้าด้วยกัน ในกรณีนี้ โมเมนตัมสัมพัทธ์ของดาราจักรทั้งสองมีไม่มากพอที่จะเคลื่อนผ่านกันไปได้ มันจะค่อย ๆ รวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นดาราจักรใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม การรวมตัวกันสามารถทำให้สัณฐานของดาราจักรใหม่แตกต่างไปจากเดิม หากดาราจักรหนึ่งมีมวลมากกว่า จะเกิดผลลัพธ์ที่เรียกว่าการกลืน (cannibalism) ดาราจักรที่ใหญ่กว่าแทบไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ส่วนดาราจักรที่เล็กกว่าจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ดาราจักรทางช้างเผือกกำลังอยู่ในกระบวนการนี้เช่นกัน โดยที่มันกำลังกลืนดาราจักรรีแคระคนยิงธนูกับดาราจักรแคระหมา

ดาวกระจาย




ดาวกระจาย
ดูบทความหลักที่ ดาราจักรชนิดดาวกระจาย

M82 ต้นแบบดั้งเดิมของดาราจักรชนิดดาวกระจาย ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
ดาวฤกษ์ก่อกำเนิดขึ้นในดาราจักรได้โดยการจับกลุ่มกันของแก๊สเย็นที่รวมตัวเป็นเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ บางดาราจักรมีการก่อเกิดดาวฤกษ์ใหม่ในอัตราสูงมากที่เรียกว่า "ดาวกระจาย (starburst)" หากมันยังคงสภาพเช่นนั้น มันจะใช้แก๊สที่มีอยู่หมดไปภายในเวลาน้อยกว่าช่วงชีวิตของดาราจักร ดังนั้นช่วงที่เกิดดาวกระจายจึงมักใช้เวลานานเพียงประมาณสิบล้านปี ซึ่งนับว่าสั้นมากเมื่อเทียบกับอายุของดาราจักร ดาราจักรชนิดดาวกระจายสามารถพบได้เป็นปกติในยุคแรก ๆ ของเอกภพ[49] ปัจจุบันยังคงมีสภาวะดังกล่าวอยู่ คิดเป็นสัดส่วนราว 15% ของอัตราการผลิตดาวทั้งหมด[50]
ดาราจักรชนิดดาวกระจายประกอบไปด้วยฝุ่นแก๊สที่รวมกันอยู่หนาแน่น เกิดดาวฤกษ์ใหม่จำนวนมาก รวมไปถึงดาวฤกษ์มวลสูงที่ทำให้เมฆหมอกของแก๊สที่อยู่โดยรอบแตกตัวเป็นไอออนจนก่อตัวเป็นบริเวณเอช 2 (H II region)[51] ดาวฤกษ์มวลสูงเหล่านี้ยังอาจระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา ทำให้เกิดซากซูเปอร์โนวาที่แผ่ขยายออกไปจนทำอันตรกิริยาต่อแก๊สรอบ ๆ การก่อเกิดดาวเช่นนี้จุดชนวนทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ มีการก่อกำเนิดดาวใหม่จำนวนมากทั่วไปหมดทั้งกลุ่มแก๊ส เมื่อแก๊สถูกนำไปใช้หรือกระจายออกไปจนเกือบหมด การก่อเกิดดาวจึงยุติลง[49]
ปรากฏการณ์ดาวกระจายมักเกี่ยวข้องกับการรวมตัวกันหรืออันตรกิริยาระหว่างดาราจักร M82 เป็นตัวอย่างต้นแบบของปรากฏการณ์นี้ ซึ่งมันได้เคลื่อนเข้าใกล้ดาราจักร M81 ที่มีขนาดใหญ่กว่า เรามักพบบริเวณที่มีการก่อเกิดดาวใหม่ในดาราจักรไร้รูปแบบอีกด้วย[52]

ทางช้างเผือก


ทางช้างเผือก


นักปรัชญาชาวกรีกชื่อ ดีโมครีตัส (450-370 ปีก่อนคริสตกาล) เสนอว่าแถบสว่างบนฟากฟ้ายามราตรีที่รู้จักกันในชื่อ ทางช้างเผือก อาจจะประกอบด้วยดวงดาวที่อยู่ไกลออกไป[14] นักดาราศาสตร์ชาวเปอร์เซียชื่อ อาบู รายาน อัล-บิรูนิ (Abū Rayhān al-Bīrūnī) (ค.ศ. 973-1048) ก็คิดว่าดาราจักรทางช้างเผือกเป็นที่รวมดาวฤกษ์มากมายเหมือนกลุ่มเมฆอันไม่อาจนับได้[15] การพิสูจน์ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1610 เมื่อ กาลิเลโอ กาลิเลอี ศึกษาดาราจักรทางช้างเผือกผ่านกล้องโทรทรรศน์ และค้นพบว่ามันประกอบด้วยดาวจาง ๆ จำนวนมาก[16] หนังสือเล่มหนึ่งในปี ค.ศ. 1755 อิมมานูเอล คานท์ วาดภาพดาราจักรจากผลงานก่อนหน้าของโทมัส ไรท์ โดยจินตนาการ (ได้ตรงเผง) ว่าดาราจักรน่าจะเป็นโครงสร้างหมุนวนที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนมากซึ่งดึงดูดกันและกันไว้ด้วยแรงโน้มถ่วง คล้ายคลึงกับระบบสุริยะ แต่ในระดับที่ใหญ่กว่ามาก เรามองเห็นแผ่นจานของดาวฤกษ์เหล่านั้นเป็นแถบอยู่บนท้องฟ้าได้เนื่องจากมุมมองของเราที่อยู่ภายในจานนั่นเอง คานท์ยังคิดไปอีกว่า เนบิวลาสว่างบางแห่งที่ปรากฏบนฟ้ายามค่ำคืนอาจเป็นดาราจักรอื่นที่แยกจากเราก็ได้[17]

ดาราจักร


ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (อังกฤษ: galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด[1][2] รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias [γαλαξίας] หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง[3] ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง[4] โคจรรอบศูนย์กลางมวลจุดเดียวกัน ในดาราจักรหนึ่ง ๆ ยังประกอบไปด้วยระบบดาวหลายดวง กระจุกดาวจำนวนมาก และเมฆระหว่างดาวหลายประเภท ดวงอาทิตย์ของเราเป็นหนึ่งในบรรดาดาวฤกษ์ในดาราจักรทางช้างเผือก เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะซึ่งมีโลกและวัตถุอื่น ๆ โคจรโดยรอบ
ในอดีตมีการแบ่งดาราจักรเป็นชนิดต่าง ๆ โดยจำแนกจากลักษณะที่มองเห็นด้วยตา รูปแบบที่พบโดยทั่วไปคือดาราจักรรี (elliptical galaxy)[5] ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นรูปทรงรี ดาราจักรชนิดก้นหอย (spiral galaxy) เป็นดาราจักรรูปร่างแบนเหมือนจาน ภายในมีแขนฝุ่นเป็นวงโค้ง ดาราจักรที่มีรูปร่างไม่แน่นอนหรือแปลกประหลาดเรียกว่าดาราจักรแปลก (peculiar galaxy) ซึ่งมักเกิดจากการถูกรบกวนด้วยแรงโน้มถ่วงของดาราจักรข้างเคียง อันตรกิริยาระหว่างดาราจักรในลักษณะนี้อาจส่งผลให้ดาราจักรมารวมตัวกัน และทำให้เกิดสภาวะที่ดาวฤกษ์มาจับกลุ่มกันมากขึ้นและกลายสภาพเป็นดาราจักรที่สร้างดาวฤกษ์ใหม่อย่างบ้าคลั่ง เรียกว่าดาราจักรชนิดดาวกระจาย (starburst galaxy) นอกจากนี้ดาราจักรขนาดเล็กที่ปราศจากโครงสร้างอันเชื่อมโยงกันก็มักถูกเรียกว่าดาราจักรไร้รูปแบบ (irregular galaxy)[6]
เชื่อกันว่าในเอกภพที่สังเกตได้มีดาราจักรอยู่ประมาณหนึ่งแสนล้านแห่ง[7] ดาราจักรส่วนใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 1,000 ถึง 100,000 พาร์เซก[4] และแยกห่างจากกันและกันนับล้านพาร์เซก (หรือเมกะพาร์เซก)[8] ช่องว่างระหว่างดาราจักรประกอบด้วยแก๊สเบาบางที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่ำกว่า 1 อะตอมต่อลูกบาศก์เมตร ดาราจักรส่วนใหญ่จะจับกลุ่มเรียกว่ากระจุกดาราจักร (cluster) ในบางครั้งกลุ่มของดาราจักรนี้อาจมีขนาดใหญ่มาก เรียกว่ากลุ่มกระจุกดาราจักร (supercluster) โครงสร้างขนาดมหึมาขึ้นไปกว่านั้นเป็นกลุ่มดาราจักรที่โยงใยถึงกันเรียกว่า ใยเอกภพ (filament) ซึ่งกระจายอยู่ครอบคลุมเนื้อที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของเอกภพ[9]
แม้จะยังไม่เป็นที่เข้าใจนัก แต่ดูเหมือนว่าสสารมืดจะเป็นองค์ประกอบกว่า 90% ของมวลในดาราจักรส่วนใหญ่ ข้อมูลจากการสังเกตการณ์พบว่าหลุมดำมวลยวดยิ่งอาจอยู่ที่บริเวณใจกลางของดาราจักรจำนวนมาก แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด มีข้อเสนอว่ามันอาจเป็นสาเหตุเริ่มต้นของนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ (active galactic nucleus: AGN) ซึ่งพบที่บริเวณแกนกลางของดาราจักร ดาราจักรทางช้างเผือกเองก็มีหลุมดำเช่นว่านี้อยู่ที่นิวเคลียสด้วยอย่างน้อยหนึ่งหลุม[10]ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (อังกฤษ: galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด[1][2] รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias [γαλαξίας] หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง[3] ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง[4] โคจรรอบศูนย์กลางมวลจุดเดียวกัน ในดาราจักรหนึ่ง ๆ ยังประกอบไปด้วยระบบดาวหลายดวง กระจุกดาวจำนวนมาก และเมฆระหว่างดาวหลายประเภท ดวงอาทิตย์ของเราเป็นหนึ่งในบรรดาดาวฤกษ์ในดาราจักรทางช้างเผือก เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะซึ่งมีโลกและวัตถุอื่น ๆ โคจรโดยรอบ
ในอดีตมีการแบ่งดาราจักรเป็นชนิดต่าง ๆ โดยจำแนกจากลักษณะที่มองเห็นด้วยตา รูปแบบที่พบโดยทั่วไปคือดาราจักรรี (elliptical galaxy)[5] ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นรูปทรงรี ดาราจักรชนิดก้นหอย (spiral galaxy) เป็นดาราจักรรูปร่างแบนเหมือนจาน ภายในมีแขนฝุ่นเป็นวงโค้ง ดาราจักรที่มีรูปร่างไม่แน่นอนหรือแปลกประหลาดเรียกว่าดาราจักรแปลก (peculiar galaxy) ซึ่งมักเกิดจากการถูกรบกวนด้วยแรงโน้มถ่วงของดาราจักรข้างเคียง อันตรกิริยาระหว่างดาราจักรในลักษณะนี้อาจส่งผลให้ดาราจักรมารวมตัวกัน และทำให้เกิดสภาวะที่ดาวฤกษ์มาจับกลุ่มกันมากขึ้นและกลายสภาพเป็นดาราจักรที่สร้างดาวฤกษ์ใหม่อย่างบ้าคลั่ง เรียกว่าดาราจักรชนิดดาวกระจาย (starburst galaxy) นอกจากนี้ดาราจักรขนาดเล็กที่ปราศจากโครงสร้างอันเชื่อมโยงกันก็มักถูกเรียกว่าดาราจักรไร้รูปแบบ (irregular galaxy)[6]
เชื่อกันว่าในเอกภพที่สังเกตได้มีดาราจักรอยู่ประมาณหนึ่งแสนล้านแห่ง[7] ดาราจักรส่วนใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 1,000 ถึง 100,000 พาร์เซก[4] และแยกห่างจากกันและกันนับล้านพาร์เซก (หรือเมกะพาร์เซก)[8] ช่องว่างระหว่างดาราจักรประกอบด้วยแก๊สเบาบางที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่ำกว่า 1 อะตอมต่อลูกบาศก์เมตร ดาราจักรส่วนใหญ่จะจับกลุ่มเรียกว่ากระจุกดาราจักร (cluster) ในบางครั้งกลุ่มของดาราจักรนี้อาจมีขนาดใหญ่มาก เรียกว่ากลุ่มกระจุกดาราจักร (supercluster) โครงสร้างขนาดมหึมาขึ้นไปกว่านั้นเป็นกลุ่มดาราจักรที่โยงใยถึงกันเรียกว่า ใยเอกภพ (filament) ซึ่งกระจายอยู่ครอบคลุมเนื้อที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของเอกภพ[9]
แม้จะยังไม่เป็นที่เข้าใจนัก แต่ดูเหมือนว่าสสารมืดจะเป็นองค์ประกอบกว่า 90% ของมวลในดาราจักรส่วนใหญ่ ข้อมูลจากการสังเกตการณ์พบว่าหลุมดำมวลยวดยิ่งอาจอยู่ที่บริเวณใจกลางของดาราจักรจำนวนมาก แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด มีข้อเสนอว่ามันอาจเป็นสาเหตุเริ่มต้นของนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ (active galactic nucleus: AGN) ซึ่งพบที่บริเวณแกนกลางของดาราจักร ดาราจักรทางช้างเผือกเองก็มีหลุมดำเช่นว่านี้อยู่ที่นิวเคลียสด้วยอย่างน้อยหนึ่งหลุม[10]

กาหลง



เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 3 เมตร ใบเป็นแบบใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายเว้าลึกคล้ายใบแฝด
ดอกขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและกิ่งข้าง ดอกกาหลงมีกลีบ 5 กลีบ เกสร 10 อัน ขนาดต่าง ๆ กัน มีกลิ่นหอมรวยริน ฝักแบนมีเมล็ดประมาณ 5-10 เมล็ด
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการตอน กาหลงออกดอกได้ตลอดปี

กระดุมทอง



เป็นไม้ล้มลุกพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 50 เซนติเมตร ลำต้นมีขนทึบใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม สัณฐานใบเป็นรูปไข่ หรือรูปรีกว้าง ใบกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ปลายแหลมโคนสอบ ขอบเรียบหรือหยักซี่ฟัน ผิวใบมีขนสากทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 1 เส้น ก้านใบสั้นมีครีบ มีขนตามก้านใบและขอบครีบ ช่อดอกแบบช่อกระจุก
ออกดอกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นคู่ ตามง่ามใบใกล้ยอดดอกโตประมาณ 3 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1-8 เซนติเมตร โคนช่อมีใบประดับมีขนเรียงกันถี่ โคนใบประกอบชั้นนอกใหญ่ขึ้นเมื่อดอกร่วงไป ดอกวงนอกเป็นดอกตัวเมีย มีประมาณ 10 ดอก กลีบดอกสีเหลืองรูปรี กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร รังไข่เล็ก ดอกวงในเหมือนดอกตัวเมีย แต่รังไข่ไม่สมบูรณ์ ดอกตัวผู้มีขนาดเล็กมากและเป็นหมัน อยู่กลางกระจุกดอก ผลมีสัณฐานเป็นรูปสามเหลี่ยม ยอดแบน เมล็ดเล็กสีดำเป็นมัน ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

กรรณิการ์



เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวออกเป็นคู่ เรียงตรงข้าม ใบทรงรูปไข่ ขอบใบเรียบหรือมีจักเล็กน้อย
ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เป็นดอกเดี่ยวมีโคนกลีบติดกัน มีลักษณะเป็นหลอดสีส้ม กลีบดอกแคบ ปลายกลีบสีขาวและไม่เสมอกัน จะมีกลิ่นหอมตอนกลางคืน และดอกจะร่วงหมดในตอนเช้า ผลมีลักษณะเป็นแผ่นแบน ภายในมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด
ขยายพันธุ์โดยการตอนหรือปักชำ

ว่าดหางจระเข้


ชื่ออื่น ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ), หางตะเข้ (ภาคกลาง)รูปลักษณะไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยวเรียงรอบต้น กว้าง 5-12 ซม. ยาว 0.3-0.8 เมตร อวบน้ำมากสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ออกจากกลางต้น ดอกย่อยเป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลแห้ง แตกได้สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาวุ้นสด - ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง วิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่างสุดของต้นก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออกด้วยมีดสะอาดล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนังและทำให้มีอาการแพ้ได้ ฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล หรือขูดเอาวุ้นใสปิดพอกรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกแผลไหม้เกรียมจากแสงแดด และรังสี ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น อาจใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ เปลี่ยนวุ้นใหม่วันละครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย ใช้วุ้นสดกินรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี และใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้นสารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีน ชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล แต่มีข้อเสีย คือ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง น้ำยางสีเหลืองจากใบ - เคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า "ยาดำ" เป็นยาระบายชนิดเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ่

อัญขัน


ชื่อท้องถิ่น เอื้องชัน (ภาคเหนือ) แดงชัน (เชียงใหม่)ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ต่าง ๆใบเป็นใบประกอบออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 5-7ใบ ลักษณะกลมโตคล้ายพุทราเนื้อใบด้านบนเรียบ ปลายใบมน มีกระดูกใบเห็นได้ชัดเจนดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามข้อหรือซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ซึ่งมีชนิดดอกชั้นเดียว และดอก 2 ชั้น มีหลายสี ทั้งสีม่วงสีน้ำเงิน และสีขาว ฝักมีขนาดเล็กค่อนข้างแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน
แหล่งที่พบ พบได้ตามทั่วไปตามที่รกร้าง และนิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อเป็นไม้ประดับสารที่พบ ในดอกมีสารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดงและสีน้ำเงินมีคุณสมบัติเป็นอิดิเคเตอร์ (Indicator) เช่นเดียวกับ ลิสมัส (Litmus)สรรพคุณ รากมีรสเย็นจืดใช้เป็นยาขับปัสสาวะพิการเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงดวงตา แก้ตาอักเสบ ตาฟางตาแฉะ โดยนิยมใช้รากต้นอัญชัน ชนิดดอกสีขาว นอกจากนี้ถ้านำรากมาถูฟันจะทำให้ฟันคงทนแข็งแรงและแก้อาการปวดฟันได้ดี เมล็ดใช้เป็นยาระบาย ซึ่งใช้ชนิดดอกสีนำเงินและดอกสีขาวส่วนดอกสดนำมาทาศีรษะเพื่อใช้เป็นยาปลูกผม

มะละกอ


ชื่ออื่นก้วยลา (ยะลา), แตงต้น (สตูล), มะก้วยเทศ (เหนือ),ลอกอ (ใต้) หมักหุ่ง, มะเต๊ะ (ปัตตานี)รูปลักษณะ ไม้ยืนต้น สูง 3 - 6 เมตร ไม่มีแก่น ต้นอวบน้ำ มียางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รอบต้นบริเวณยอดรูปฝ่ามือเว้าเป็นแฉกลึก 7 แฉก ขนาดใหญ่ ดอก มีหลายประเภท คือดอกตัวผู้ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกเดี่ยว หรือช่อ2 - 3 ดอก สีนวล ผล เป็นผลสด รูปยาวรี ทรงกระบอก หรือกลม เมล็ดสีดำ สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา รากและก้านใบ - ขับปัสสาวะ ยางขาวจากผลดิบมีเอ็นไซม์ย่อยโปรตีน ได้แก่ papain และ chymopapain ใช้ย่อยเนื้อสัตว์ให้เปื่อย นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องในอุตสาหกรรมยาใช้เอ็นไซม์ผลิตเป็นยาเม็ด ลดอาการบวมการอักเสบจากบาดแผล หรือการผ่าตัด ตำพอกแผลเรื้อรังฝีหนอง

มะกรูต


ชื่อท้องถิ่น มะขูด มะขุน ส้มกรูด ส้มมั่วผีลักษณะ มะกรูดเป็นพืชที่ใช้เป็นเครื่องเทศมานานแล้ว โดยใช้ผิวของผลเป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหลายชนิด ใช้เข้าเครื่องหอมโดยเป็นส่วนผสมในเทียนอบ ใบมะกรูดมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นในอาหารคาวหลายชนิดเช่น ต้มยำ แกงเผ็ด น้ำมะกรูดใช้ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาวปลาคนโบราณนิยมสระผมด้วยน้ำมะกรูด เพราะช่วยให้ผมดำเป็นมันไม่แห้งกรอบ คนไทยนิยมปลูกมะกรูดไว้ตามบ้านและในสวน มะกรูดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ใบมีกลิ่นหอม ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระมีปุ่มนูนและมีจุกที่หัวของผล ส่วนที่ใช้ คือ ใบและผลสารสำคัญ ในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอมระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลักส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล, ไอโซพูลิโกลและไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซีและกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ

คนทีสอ


ชื่ออื่นคนทีสอขาว, โคนดินสอ, สีสอ (ประจวบ), มูดเพิ่ง (ตาก), ผีเสื้อน้อย,ดอกสมุทร, สีเสื้อน้อยรูปลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 3-6 เมตร เปลือกนอกสีเทาดำเปลือกในสีเหลืองอ่อน แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง 2-3 เมตร ในประเทศไทยพบขึ้น ตามป่าเบญจพรรณทั่วไปในต่างประเทศพบว่า มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียถึงออสเตรเลียความน่าสนใจของไม้ต้นนี้คือ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีดอกดก สีหวาน และตัดแต่งทรงพุ่มได้ง่าย ปลูกได้ทั่วไปใช้พื้นที่ไม่มากนัก ใช้เป็นองค์ประกอบในการจัดสวนได้ดี และใช้ด้านสมุนไพรไทยได้มากมายเกือบทุกส่วน เช่น ต้น ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดท้องอืด เฟ้อ เปลือกแก้ไข้ แก้ระดูพิการ แก้คลื่นเหียน แก้พยาธิ แก้จุกเสียด ดอก รสหอมฝาด แก้ไข้ แก้พยาธิ แก้หืดไอ แก้ไข้ในหญิงมีครรภ์ แก้ไข้อันบังเกิดแต่ทรวง บำรุงครรภ์มารดา บำรุงน้ำนมดี สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาใบ รสร้อนสุขุมหอม บำรุงน้ำดี ขับลม แก้หือไอ ฆ่าพยาธิแก้สาบสางในร่างกาย แก้ริดสีดวงจมูก แก้เสมหะ จุกคอแก้ลำไส้พิการ แก้ปวดตามกล้ามเนื้อตามข้อ ขับเหงื่อดอก รสหอมฝาด แก้ไข้ในหญิงมีครรภ์ แก้ไข แก้หืดไอ ฆ่าแม่พยาธิลูก รสร้อนสุขุม แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ไข้ ฆ่าพยาธิ แก้ไอแก้ริดสีดวง ท้องมานเมล็ด รสร้อนสุขุม ระงับปวด เจริญอาหารราก รสร้อนสุขุม (ร้อนติดเมาอ่อนๆ) แก้ไข้ แก้โรคตับ โรคตาถ่ายน้ำเหลือง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะต้น ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดท้องอืด เฟ้อ เปลือกแก้ไข้ แก้ระดูพิการ แก้คลื่นเหียน แก้พยาธิ แก้จุกเสียด ดอก รสหอมฝาด แก้ไข้ แก้พยาธิแก้หืดไอ แก้ไข้ในหญิงมีครรภ์ แก้ไข้อันบังเกิดแต่ทรวง บำรุงครรภ์มารดา บำรุงน้ำนมดี

ขี้เหล็ก


ชื่ออื่นขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ยะหา (ปัตตานี) ผักจี้ลี้ (ฉานแม่ฮ่องสอน) แมะขี้เหละพะโคะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ขี้เหล็กแก่นรูปลักษณะไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝัก แบบยาวและหนาสรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาใบ รสขม ถ่ายพรรดึก ถ่ายกระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ขับปัสสาวะแก้ระดูขาว แก้นิ่ว ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิตดับพิษโลหิต ดองสุราดื่มก่อนนอน แก้นอนไม่หลับใบอ่อน, ดอกตูมและแก่น - มีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนหลับ โดยใช้วิธีนำมาดองเหล้า ดื่มก่อนนอนดอก รสขม แก้โรคประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้หืด แก้รังแค เป็นยาระบายฝัก รสขม แก้ไข้พิษเพื่อปิตตะ ไข้เพื่อเสมหะเปลือกฝัก รสขมเฝื่อน แก้เส้นเอ็นตึง แก้กระษัยเปลือกต้น รสขม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวารกระพี้ รสขมเฝื่อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้กระษัยเส้นเอ็นแก่น รสขมเฝื่อน ถ่ายพิษถ่ายเส้น ถ่ายม้าม แก้กระษัย แก้เหน็บชาแก้ไข้เพื่อกระษัย ขับโลหิต แก้เตโชธาตุพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้แสบตาแก้กามโรค หนองใสราก รสขม แก้ไข้ แก้ไข้กลับ ไข้ช้ำ รักษาแผลกามโรค

ขมิ้นชัน


ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่),หมิ้น (ภาคใต้) ลักษณะ พืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดินเนื้อในของเหง้า ขมิ้นชันสีเหลืองเข้มจนสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบรูปเรียวยาว ปลายแหลมคล้ายใบพุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ออกตรงกลางระหว่างใบคู่ในสุด ดอกสีขาว มีแถบสีเหลืองคาด มีกลีบประดับสีขาวหรือเขียวการปลูก ขมิ้นชันชอบอากาศค่อนข้างร้อน และมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืนชอบดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี วิธีปลูกใช้เหง้าแก่ ที่อายุ 11-12 เดือน เป็นท่อนพันธุ์ เก็บใช้ในช่วงอายุ 9-10 เดือน ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าสดและแห้งสรรพคุณยาไทยเหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบและ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด วิธีใช้ อาการแพ้อักเสบ แผล ฝีพุพอง แมลงสัตว์กัดต่อยภายนอก ใช้เหง้ายาวประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้นโรยทาบริเวณที่มีอาการ ผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ อาการ ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียดและอาหารไม่ย่อย ใช้เหง้าขมิ้น ไม่ต้องปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัด ๆ สัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอนถ้ามีอาการท้องเสียให้หยุดยาทันที

กระดังงา


ชื่ออื่นกระดังงา กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ สะบันงา สะบันงาต้น รูปลักษณะไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม.ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอกกลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำสรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาดอก - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผมใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด

เรื่องน่ารู้ในหลวงของเรา



บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
ถ้ากล่าวถึงในหลวงทุกท่านคงจะทราบดีว่าท่านคือพ่อหลวงของปวงชาวไทยที่ทรงทำนุบำรุงประเทศของเรามานานมากแล้ว ท่านทรงงานหนักเพื่อปวงชนชาวไทย ทั้งเรื่องการแปลงผลผลิตการเกษตร โครงการต่างๆและที่สำคัญท่านทรงห่วงใยปวงชนชาวไทยทุกคน ท่านทรงไม่ถือตัวเดินลงไปคุยกับชาวบ้านดังเหมือนญาติมิตรสหาย และทรงถามไท่ความเป้นอยู่พร้อมทั้งถามปัญหาของราษฎรแล้วนำไปแก้ไขอิกด้วย ท่านทรงเป้นเหมือนครุในยามที่ทรงสอนการอยู่แบบพอเพียงด้วยตนเองพร้อมทั้งวิธีแก้ไขปัญหาในอนาคต ทรงเป้นเหมือนสิ่งศักสิทธิ์ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคนไทยทั้งปวงยามที่ทุกคนมีทุก ทรงลงมาแก้ไชปัญหาการเมืองในบางโอกาสพร้อมทั้งบอกให้ทุกคนสมานฉันท์ซึ่งกันและกัน วันหนึ่งผมได้มีโอกาสไปเฝ้าไข้ท่านที่ศิริราช เป็นอะไรที่ประทับใจมาก ผมก็เฝ้ารอผลจากหมอ 2-3วัน ท่านทรงให้คนนำอาหารและน้ามดื่มในโครงการสวนจิตของท่านมาแจกจ่ายให้ผู้มาเฝ้าไข้ท่าน ที่กล่าวมานั้นเป้นเพียงแค่ส่วนน้อยที่กระผมพอจะรุ้ติดตัวบ้างเล็กๆน้อยๆแต่เชื่อว่าสิ่งที่ท่านทำให้ประศกนิกรชาวไทยมีมากมายมหาศาจนนับไม่ได้ เพราะฉะนั้นพี่น้องชาวไทยควรจะทำตามพระราชดำรัสและพระราชดำริของพระองค์ ผมเชื่อว่าในอนาคตสังคมไทยจะต้องดีขึ้นได้ด้วยการทำตามที่พระองค์ตรัส