วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

ขี้เหล็ก


ชื่ออื่นขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ยะหา (ปัตตานี) ผักจี้ลี้ (ฉานแม่ฮ่องสอน) แมะขี้เหละพะโคะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ขี้เหล็กแก่นรูปลักษณะไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝัก แบบยาวและหนาสรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาใบ รสขม ถ่ายพรรดึก ถ่ายกระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ขับปัสสาวะแก้ระดูขาว แก้นิ่ว ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิตดับพิษโลหิต ดองสุราดื่มก่อนนอน แก้นอนไม่หลับใบอ่อน, ดอกตูมและแก่น - มีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนหลับ โดยใช้วิธีนำมาดองเหล้า ดื่มก่อนนอนดอก รสขม แก้โรคประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้หืด แก้รังแค เป็นยาระบายฝัก รสขม แก้ไข้พิษเพื่อปิตตะ ไข้เพื่อเสมหะเปลือกฝัก รสขมเฝื่อน แก้เส้นเอ็นตึง แก้กระษัยเปลือกต้น รสขม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวารกระพี้ รสขมเฝื่อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้กระษัยเส้นเอ็นแก่น รสขมเฝื่อน ถ่ายพิษถ่ายเส้น ถ่ายม้าม แก้กระษัย แก้เหน็บชาแก้ไข้เพื่อกระษัย ขับโลหิต แก้เตโชธาตุพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้แสบตาแก้กามโรค หนองใสราก รสขม แก้ไข้ แก้ไข้กลับ ไข้ช้ำ รักษาแผลกามโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น