วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของฟักทอง


สรรพคุณทางยาของฟักทอง
- เมล็ดสามารถขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ และบำรุงร่างกายได้ดี- ราก บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถ่อนพิษของฝิ่นได้- น้ำมันจากเมล็ดบำรุงประสาทได้ดี- เยื่อกลางผลสามารถนำมาพอกแก้อาการฟกช้ำ ปวด อักเสบ
ประโยชน์ของฟักทองทางโภชนาการ
- เนื้อฟักทอง มีวิตามินเอสูงมาก มีฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี แป้ง สารสีเหลืองและโปรตีน- ใบอ่อน มีวิตามินเอสูงเท่ากับเนื้อฟักทอง มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในเนื้อ- ดอก มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีวิตามินซีเล็กน้อย- เมล็ด มีน้ำมัน แป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน
เกล็ดเล็กเกล็ดน้อยประโยชน์ของเมล็ดฟักทอง ในเมล็ดฟักทองมีสารชื่อ คิวเคอร์บิติน (cucurbitine) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวตืดได้ดี วิธีใช้ให้เตรียมเมล็ดฟักทองประมาณ 60 กรัม ทุบให้แตกละเอียดนำมาผสมกับน้ำตาล นม และน้ำเติมลงไปจนได้ประมาณ 500 มิลลิลิตร แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ห่างกันทุก 2 ชั่วโมงจะฆ่าพยาธิตัวตืดได้ หลังจากนั้นให้ยาแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ควรรับประทานยาระบายน้ำมันละหุ่ง 2 ช้อนโต๊ะช่วยในการขับถ่าย

ประโยชน์ของแตงกวา


ประโยชน์ของแตงกวาแตงกวามีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 96 จึงมีคุณสมบัติแก้กระหาย และเพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยการกำจัดของเสียตกค้างในร่างกาย นอกจากนี้แตงกวามีสารอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ วิตามินซี กรดคาเฟอิก กรดทั้ง 2 นี้ป้องกันการสะสมน้ำเกินจำเป็นในร่างกาย เปลือกแตงกวามีกากใยอาหาร และแร่ธาตุจำเป็น เช่น ซิลิก้า โพแทสเซียม โมลิบดีนั่ม แมงกานีส และแมกนีเซียม ซิลิก้าเป็นแร่ธาตุที่เสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น และกระดูก ปริมาณเส้นใย ธาตุโพแทสเซียมและแมงกานีสในเปลือกแตงกวาช่วยควบคุมความดันเลือดและความสมดุลของสารอาหารในร่างกาย ธาตุแมกนีเซียมช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และระบบการหมุนเวียนเลือด เส้นใยอาหารควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและช่วยระบบขับถ่ายโดยมีพลังงานต่ำเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แตงกวาเป็นผักที่เหมาะกับการกินยามอากาศร้อนเพราะลดความร้อนและช่วยให้ร่างกายสดชื่น มีสารฟีนอลทำหน้าที่ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น นอกจากนี้ น้ำแตงกวายังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ลดอาการนอนไม่หลับ ลดกรดกระเพาะอาหาร แก้กระหายน้ำ และลดอาการโรคเกาต์ โรคไขข้อรูมาติสม์ และอาการบวมน้ำอีกด้วยแตงกวากับสุขภาพและความงามป้องกันสิวและสิวหัวดำ ใช้เนื้อแตงกวาขูดฝอยพอกบริเวณหน้าและคอเป็นเวลา 15-20 นาที บำรุงผิว ถ้าใช้บ่อยจะป้องกันผิวหน้าแห้ง ป้องกันการเกิดสิวและสิวหัวดำ ผิวหน้าสดใสใช้น้ำมะนาวเล็กน้อยและน้ำลอยกลีบกุหลาบ (ที่ปลูกเองแบบปลอดสาร ใช้กลีบกุหลาบมากหน่อย น้ำไม่ต้องมาก วัตถุประสงค์คือให้น้ำมันหอมจากกลีบกุหลาบออกมาอยู่ในน้ำ) ผสมกับน้ำคั้นผลแตงกวา ทาบนผิวหน้าเพื่อทำให้ใบหน้าสดใส (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีผิวมัน)ผิวหน้าผุดผ่องใช้น้ำคั้นผลแตงกวาและนมสดปริมาณเท่าๆกัน เติมน้ำลอยกลีบกุหลาบ 2-3 หยด ทาหน้านาน 15-20 นาที ทำให้ผิวหน้านุ่มและขาวขึ้นลบถุงดำใต้ตาใช้น้ำคั้นผลแตงกวา 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำคั้นมันฝรั่ง 1 ช้อนโต๊ะ ทารอบขอบตา พักราว 15 นาทีจึงล้างออกบำรุงผิวผสมน้ำคั้นแตงกวา น้ำมะนาว น้ำส้ม น้ำแช่กลีบกุหลาบ กลีเซอรีน และน้ำผึ้งอย่างละเท่าๆกัน ใช้ทาผิวให้ตึงกระชับเพิ่มความอ่อนเยาว์ลดรอยหมองคล้ำใต้รักแร้ผสมน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำคั้นผลแตงกวา 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และผงขมิ้นครึ่งช้อนชา หลังจากอาบน้ำเช็ดตัวให้ใช้สำลีชุบน้ำมันมะพร้าวเช็ดบริเวณใต้รักแร้เป็นวงกลม หลังจากนั้นผสมน้ำแตงกวา น้ำมะนาว และผงขมิ้นให้เข้ากัน ทาใต้รักแร้ทิ้งไว้ 20 นาที จากนั้นล้างออกและเช็ดให้แห้ง ทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ช่วยการเจริญของผมให้ดื่มน้ำคั้นผลแตงกวาและน้ำแครอตเป็นประจำ ซิลิก้าและกำมะถันในน้ำแตงกวาบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนังทรีตเม้นท์ลดความเสียหายของผมจากคลอรีนผสมไข่ 1 ฟอง น้ำมันมะกอก 3 ช้อนชา และแตงกวาปอกแล้ว 1 ส่วน 4 ผล ชโลมบนเส้นผม ทิ้งไว้ 10 นาทีจึงล้างออกลบรอยด่างดำการดื่มน้ำคั้นผลแตงกวาจะช่วยลดรอยด่างดำบนผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่องรอยยุงกัด และให้ทาน้ำแตงกวาผสมน้ำลอยกลีบกุหลาบอัตราส่วนเท่าๆ กันด้วยแก้อาการเจ็บคอแก้อาการเจ็บคอโดยกลั้วคอด้วยน้ำคั้นผลแตงกวาวันละอย่างน้อย 3 ครั้งแก้อาการท้องผูกน้ำคั้นผลแตงกวาเป็นยาระบายอย่างอ่อน ลดกรดในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะและช่วยการขับถ่ายมิตรแท้ของดวงตาหั่นแตงกวาเป็นแว่นตามขวาง หลับตาวางแว่นแตงกวาลงบนเปลือกตา นอนในที่เงียบแสงสลัวๆ จะบรรเทาอาการเหนื่อยล้าของดวงตา ที่เกิดจากการใช้งานนานๆ ได้รับฝุ่นควัน แสงจ้า หรือใส่คอนแท็กเลนส์นานเกินไปฟังสรรพคุณมามากแล้ว วันนี้ไปลองดื่มน้ำคั้นผลแตงกวากันดีกว่าแตงกวา 2 ผลหรือแตงร้านหนึ่งผล น้ำ 2 ถ้วย น้ำแข็ง 1 ถ้วย น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะหรือตามชอบ น้ำมะนาวครึ่งผล ใส่เครื่องปั่นจนเป็นเนื้อเดียวกัน อาจใส่ผลไม้อื่นด้วยเช่นแคนทาลูปหรือแตงโม ถ้าใส่ผลไม้อื่นสามารถลดน้ำตาลได้อีกด้วย หรืออาจใช้น้ำเพียง 1 ถ้วย ปั่นแล้วเทใส่แก้วเติมโซดาเย็น 1 ถ้วยก็ได้

ประโยชน์ของผักคะน้า


สรรพคุณ / ประโยชน์ของผักคะน้าคะน้ามีวิตามินหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน 186.92 ไมโครกรัม/100 กรัม [3] ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และยังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูกคะน้ามีสารต้านอนุมูลอิสระ คือวิตามินซีและเบต้า-แคโรทีน ซึ่งร่างการจะเปล่ยนเป็นวิตามินเอที่มีผลต่อการบำรุงสายตา เสริมสร้างสุขภาพผิวพรรณและต้านทานการติดเชื้อ คะน้าให้โฟเลตและธาตุเหล็กสูง ซึ่งสารทั้งงสองชนิดนี้จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
- คุณค่าอาหารคะน้า 100กรัม ให้พลังงาน 31 กิโลเคลอรี ประกอบด้วยน้ำ 92.1 กรัม โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.8 กรัม เส้นใย 1.6 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 2,512 ไมโครกรัม วิตามินเอ 419 iu. วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.08 มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม
- ข้อควรระวังในผักคะนั้นในพบ สารกอยโตรเจน (goitrogen) ซึ่งบริโภคมาก ๆ จะทำให้ท้องอืด

ประโยชน์ของพริก


พริกนับเป็นสมุนไพรที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี นักวิจัยได้ทำการศึกษาพบว่า ในพริกจะมีสารแคปซินสูง ซึ่งสารตัวนี้มีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวด ช่วยในระบบการย่อยอาหารและการไหลเวียนของเลือด ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และล่าสุดนักวิจัยพบว่า สารแคปไซซินนี้มีผลในการเพิ่มการเผาผลาญไขมัน สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ อีกหนึ่งเหตุผลนั่นก็คือ ความเผ็ดของพริกทำให้คนกินอาหารได้น้อยลงเพราะเวลาที่เผ็ดจะต้องดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อขจัดความเผ็ดจึงทำให้อิ่มเร็ว แคลอรีที่ร่างกายได้รับก็น้อยลงจึงทำให้น้ำหนักลดลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าออกกำลังกายร่วมด้วยก็จะให้ผลดีขึ้นไปอีก

ประโยชน์ของมะยม


สรรพคุณของมะยมและวิธีใช้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของมะยมคือ ใบอ่อน ยอด ผล เปลือกลำต้น และราก ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้ ค่ะใบมะยม มีสรรพคุณใช้เป็นยารับประทานดับพิษร้อนถอนพิษไข้ หากนำใบมะยมมาต้มรวมกับใบมะเฟืองและใบหมากผู้หมากเมีย สามารถจะนำน้ำที่ได้มาใช้อาบ แก้ผื่นคัน ลดพิษไข้จากหัด อีสุกอีใส ไข้ดำแดง และฝีดาษ ได้ค่ะยอดมะยม ยอดมะยมจะมีรสฝาด มัน และมีกลิ่นหอม จึงมีสรรพคุณ ใช้แก้ไข้ และดับพิษไข้ผลมะยม มีสรรพคุณช่วยในการกัดเสมหะ จึงใช้แก้ไอและขับเสมหะได้ดี นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณ ช่วยในการบำรุงโลหิต ระบายท้อง และขับปัสสาวะเปลือกลำต้นของมะยม มีสรรพคุณใช้แก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้รากมะยม มีสรรพคุณในการแก้คัน จึงมีคำแนะนำให้นำรากของมะยมมาต้ม ใช้ทาแก้คัน หรือปรุงเป็นยารับประทานแก้ไอ แก้หอบหืดและปวดศรีษะ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้โรคผิวหนังโดยทั่วไปแล้วในมะยมจะมีสองเพศ คือ มะยมตัวผู้ และมะยมตัวเมีย สำหรับมะยมตัวผู้จะมีลักษณะเด่นคือ จะออกดอกเต็มต้น แต่ไม่ติดลูก ส่วนมะยมตัวเมีย จะมีดอกน้อยกว่า ดังนั้นจึงนิยมใช้มะยมตัวผู้ในการทำยามากกว่าตัวเมีย ค่ะ วันนี้เวลาของรายการสาระความรู้ทางการเกษตรหมดลงอีกแล้วนะคะ คุณผู้ฟังจะติดตามรับฟังรายการ “สาระความรู้ทางการเกษตร” ได้ใหม่ ณ สถานีวิทยุ มอ. เอฟเอ็ม แปดสิบแปด เม็กกะเฮิร์กซ์ ทุกวันจันทร์ เวลาประมาณสิบห้านาฬิกายี่สิบนาที หากคุณผู้ฟังต้องการได้รายละเอียดเกี่ยวกับรายการสาระความรู้ทางการเกษตรเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ หรือมีปัญหาทางการเกษตรต้องการคำปรึกษา แนะนำ หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม แก่ทางรายการฯ ก็ตามนะคะ ขอเชิญติดต่อเข้ามาได้ค่ะ ทั้งทางจดหมายและโทรศัพท์ ทางจดหมายจ่าหน้าซองถึง คุณดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ หัวหน้างานฝึกอบรม คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90112 ส่วนทางโทรศัพท์กรุณาติดต่อมาที่หมายเลข 074 – 219-234 begin_of_the_skype_highlighting 074 – 219-234 end_of_the_skype_highlighting และ 074 286-059-60 ได้ทุกวัน ในเวลาราชการนะคะ สำหรับวันนี้ดิฉันขอลาคุณผู้ฟังไปก่อน สวัสดีค่ะ

ประโยชน์ของมะม่วง


สรรพคุณ : ยอดมะม่วง ใบอ่อน มีรสเปรี้ยวอมฝาดเล็กน้อย ผลดิบของมะม่วงรสเปรี้ยวยอดอ่อนและใบอ่อนของมะม่วงยังไม่มีการวิเคราะห์ทางโภชนาการ ผลมะม่วงแก่ดิบจะให้พลังงานต่อร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เบต้า – แคโรทีน วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง ไนอาซิน วิตามินซี เป็นต้นผลดิบและผลสุกสามารถแปรรูปเป็น มะม่วงกวน มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำมะม่วง แยม ฯลฯ และผลดิบสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้ เช่น แกงส้ม (คนปักษ์ใต้นิยมแกงกัน) น้ำพริก (น้ำพริกมะม่วง) ใช้รับประทานคู่กับผักเหนาะ เช่น แตงกวา ผักกูดลวก สะตอ อื่นๆ อีกมากมาย
ความเชื่อ มะม่วงเป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คนโบราณเชื่อว่าหากนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านทางทิศใต้ (ทักษิณ) จะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยมีความร่ำรวยยิ่งขึ้น
สรรพคุณทางยา :ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อนเปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน
พื้นเพและหัวนอนปลายเท้าของมะม่วง
มะม่วง (mango) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า indica Linn. มีถิ่นกำเนิดในบริเวณประเทศอินเดีย เชื่อกันว่ามนุษย์ในบริเวณนั้นนำมะม่วงมาเพาะปลูกนานกว่า 4 พันปีแล้ว มะม่วงจึงเป็นพืชชนิดเก่าแก่ที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของมนุษย์มาก โดยเฉพาะด้านความเชื่อและศาสนา มะม่วงที่นิยมปลูกกันทั่วไปนั้นมีชื่อในภาษาไทยว่า มะม่วง มะม่วงบ้าน หรือมะม่วงสวน ซึ่งแตกต่างจากมะม่วงอีกจำพวกหนึ่งที่เรียกรวมๆ ว่า “มะม่วงป่า” ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น มะม่วงกะล่อน
มะม่วงป่าเป็นพืชพื้นเมืองของไทย เป็นต้นไม้สำคัญกลุ่มหนึ่งของป่าแดงหรือป่าเต็งรัง (ป่าแพะ ป่าโคก) ซึ่งเป็นป่าในที่ดอน ดินตื้น ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แห้งแล้งกว่าป่าชนิดอื่น มีต้นไม้ขึ้นอยู่ไม่มากชนิดเท่าป่าประเภทอื่น ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าแดงจึงเป็นต้นไม้ที่แข็งแรงทนทาน ปรับตัวได้ดี แม้มะม่วงบ้านจะไม่ใช่พืชดั้งเดิมของไทย แต่ก็มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับมะม่วงป่าอันเป็นพืชดั้งเดิม จึงปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี สามารถปลูกได้ในทุกภาค ตั้งแต่เหนือสุดจนใต้สุด
มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่อาจสูงถึง 20 เมตร ทรงพุ่มกว้างรูปโดมหรือครึ่งวงกลม มีใบแน่นทึบสีเขียวเข้ม ใบอ่อนสีน้ำตาลแดงออกไปทางสีม่วง เปลือกสีเทาเข้มขรุขระ และแตกเป็นริ้วเมื่อมีอายุมากขึ้น ปกติมะม่วงออกดอกปีละครั้งช่วงฤดูแล้ง อากาศเย็น แต่มีมะม่วงบางพันธุ์สามารถออกดอกได้ตลอดปี โดยทยอยออกเป็นช่วงๆ เรียกว่า มะม่วงทวาย เช่น มะม่วงสามฤดู มะม่วงน้ำดอกไม้ทะวาย เป็นต้น
คำว่า “ทะวาย” เดิมเรียกว่า “ต่อวาย” หมายถึง เมื่อหมดฤดูออกผล (วาย) แล้ว ก็มีดอกออกผลต่อได้อีก จึงเรียกพันธุ์ไม้เหล่านี้ว่า “ต่อวาย” ซึ่งนอกจากมะม่วงแล้ว ยังมีทุเรียน ขนุน เงาะ ฯลฯ หากออกดอกผลนอกฤดูก็เรียกว่า “ต่อวาย” หรือ “ทะวาย” ทั้งสิ้น
มะม่วงจัดอยู่ในจำพวกไม้ผลที่สำคัญยิ่งของไทยมานานแล้ว ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพืชที่จัดอยู่ในจำพวกต้องเสียอาการใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 7 ชนิด คือ ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะปราง ลางสาด หมากและพลู ในปี พ.ศ. 2431 ชาวสวนผู้ปลูกมะม่วงถูกเก็บค่าอากรใหญ่จากมะม่วง (ที่ออกผลแล้ว) ต้นละเฟื้อง ซึ่งแพงเป็นที่สองรองจากทุเรียนเท่านั้น
คุณประโยชน์ของมะม่วง
ประโยชน์ด้านหลักที่มนุษย์ได้รับจากมะม่วง ก็คือ ด้านอาหาร ผลมะม่วงได้รับการยกย่องในประเทศอินเดีย อันเป็นถิ่นกำเนิดว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้” ผลมะม่วงสามารถนำมากินได้ตั้งแต่ยังอ่อน ที่ชาวไทยเรียกว่ามะม่วง “ขบเผาะ” นั่นเอง เมื่อผลแก่มะม่วงจะมีทั้งรสเปรี้ยวหรือหวาน เนื่องจากมะม่วงมีมากมายหลายพันธุ์ จึงมีความแตกต่างในด้านรูปร่าง ขนาด รสชาติ กลิ่น สี ฯลฯ ของผล ทำให้เลือกนำมาบริโภคได้ตามความต้องการได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่น เช่น ผลมะม่วงดิบรสเปรี้ยวอาจนำมาจิ้มพริกกับเกลือ หรือนำไปใช้ตำน้ำพริกแทนมะนาว นำไปใช้ยำเป็นกับข้าว ผลมะม่วงดิบรสมันหรือหวานใช้กินเช่นเดียวกับผลสุกที่มีรสหวาน นำไปทำขนมต่างๆ หรือแปรรูป เช่น มะม่วงกวน แยมมะม่วง มะม่วงดอง น้ำมะม่วง ฯลฯ นอกจากผลแล้ว ใบอ่อนและช่อดอกของมะม่วงยังนำมากินเป็นผักได้อย่างหนึ่งด้วย
มะม่วงมีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย ในประเทศอินเดียนำใบมะม่วงมาตากแห้งป่นเป็นผง ใช้รักษาโรคท้องร่วงและเบาหวาน ใบมะม่วงสดใช้เคี่ยวรักษาโรคเหงือก เนื้อในเมล็ดมะม่วงใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม น้ำคั้นจากเมล็ดมะม่วงใช้แก้เลือดกำเดาไหล เป็นต้น
ตำราสรรพคุณยาไทย กล่าวถึง สรรพคุณด้านสมุนไพรของมะม่วงเอาไว้หลายประการ เช่น ผลสุกใช้บำรุงกำลัง เป็นยาระบายอ่อนๆ และขับปัสสาวะ เปลือกผลดิบเป็นยาคุมธาตุ ดอก เปลือก เนื้อในเมล็ดใช้แก้ท้องร่วง บิด อาเจียน ใบแห้งเผาเอาควันสูดใช้รักษาโรคเกี่ยวกับหลอดลม ยางจากผลและต้นผสมกับน้ำส้มหรือน้ำมันทาแก้คันแก้โรคผิวหนัง เป็นต้น
ดังที่ได้กล่าวมาในตอนต้นแล้วว่า มะม่วงถูกมนุษย์นำมาเพาะปลูกนานกว่า 4 พันปีแล้ว ทำให้มนุษย์มีความผูกพันกับมะม่วงมาก ชาวฮินดูเชื่อว่ามะม่วงกำเนิดมาจากภูเขาไกลาส อันเป็นที่ประทับของพระอิศวร ยิ่งกว่านั้นบางคัมภีร์ยังกล่าวว่า มะม่วงเป็นภาคหนึ่งของพระพรหม ชาวฮินดูจึงนับถือมะม่วงเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งในพิธีกรรมต่างๆ ที่เป็นมงคลต้องใช้มะม่วงเป็นส่วนประกอบด้วยเสมอ
ไม่เฉพาะชาวฮินดูเท่านั้นที่ถือว่ามะม่วงเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ แต่ชาวพุทธก็เช่นเดียวกัน คงเป็นเพราะพุทธศาสนาก็มีกำเนิดในอินเดียด้วยนั่นเอง ตัวอย่างเรื่องราวของมะม่วงที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าเรื่องหนึ่งก็คือ ชาวพุทธเชื่อว่า พระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ที่ต้นมะม่วง ซึ่งเรียกว่า คัณฑามพพฤกษ์ ณ เมืองสาวัตถี เนื่องจากยมกปาฏิหาริย์เป็นสุดยอดปาฏิหาริย์ซึ่งทำได้เฉพาะพระพุทธองค์เท่านั้น และทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น จึงนับเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในพุทธศาสนา เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ ที่พุทธศาสนามีต่อหมู่เดียรถีย์ (พวกไม่มีศาสนา) และลัทธิอื่นๆในยุคนั้น ชาวพุทธจึงนับถือมะม่วงว่าเป็นต้นไม้พิเศษที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์เช่นเดียวกับต้นไม้บางชนิด เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นสาละ เป็นต้น
ในตำราปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านของคนไทยตั้งแต่โบราณ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย กำหนดให้ปลูกมะม่วงในทิศใต้ของบ้าน มะม่วงกับคนไทยนั้นมีความผูกพันที่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรมานานกว่า 700 ปี และความผูกพันนี้ยังคงเหนียวแน่นไม่เปลี่ยนแปลง ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างรูปแบบความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อมะม่วง ซึ่งแสดงออกในรูปกวีนิพนธ์ของรัตนกวีท่านหนึ่งของไทยเมื่อ 250 ปีก่อนโน้น คือ พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ

การเลี้ยงนกแก้ว



เลี้ยงโดยให้เกาะอยู่บนคอน ขาตั้งและคอนสำหรับนกแก้วนั้น จะทำให้นกรู้สึกอิสระและออกกำลังกายได้สะดวก คอนควร ทำด้วยวัสดุเนื้อแข็ง ถ้าคอนเป็นไม้ปลายทั้งสองควรหุ้มด้วยโลหะ มิฉะนั้นนกจะฉีกแทะเล่น ในกรณีที่นกยังไม่เชื่องพอ ควรใช้กำไลสวมข้อเท้าซึ่งติดกับโซ่สวมไว้ก่อน และควรขลิบปีก เสียข้างหนึ่งเพื่อป้องกันนกบินหนี บริเวณขนที่จะต้องตัดออกคือขนปีกชั้นที่ 1 ทั้ง 5 โดย ขลิบออกประมาณ 1 นิ้ว
เลี้ยงด้วยกรงภายใน ในกรณีที่นกแก้วเป็นนกรูปร่างเล็ก ขนาดของกรงโดยทั่วไปแล้วไม่ควรมีขนาดกว้างสูง ต่ำ กว่า 2x3 ฟุต ขนาดของกรงนั้นจะเหมาะสมกับนกหรือไม่สังเกตุได้จากเมื่อนกเกาะอยู่กลาง กรง หากนกมีโอกาสกางปีกออกได้สะดวก โดยไม่ติดกับกรงหรือคอน ก็จัดได้ว่ามีความพอดี
เลี้ยงด้วยกรงภายนอก การเลี้ยงนกแก้วด้วยกรงภายนอกนั้นเป็นการดียิ่งสำหรับสุขภาพนก เพราะนกได้อยู่กับสิ่งแวด ล้อมคล้ายกับถิ่นเดิม อากาศโปร่งบริสุทธิ์ นกออกกำลังกายได้ตลอดเวลาแต่ต้องคำนึงถึงแสง แดดและฝน อย่าให้โดนมากเกินไป อาหารทั่วไปสำหรับเลี้ยงนกแยกออกเป็นชนิดต่างๆได้ดังนี้
เมล็ดข้าวชนิดต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของเมล็ดทานตะวัน, ข้าวโอ๊ท, ข้าวสาลี, เมล็ดกัญชา, เมล็ดข้าวโพด, ถั่วลิสง, และเมล็ดข้าวอื่นๆที่กระเทาะเปลือกแล้ว
ผลไม้ต่างๆ เช่น แอ๊ปเปิ้ล, กล้วย, องุ่น, ส้ม และผมไม้มุกชนิด
อาหารจำพวกผักสด เช่น หัวมันเทศ, หัวผักกาด, หัวแคร์รอท, ผักโขม, หรือผักจำพวกกระหล่ำปลี, และผักในสวนครัวชนิดอื่นๆ
กระดองปลาหมึก, ทราย